ผู้บริหารโรงเรียน

S 27557907

 นายคมศักย์  เก๋งแก้ว
ผู้อำนวยการโรงเรียน

Government Links

Educations Links

ดีไซน์ที่ยังไม่ได้ตั้งชื่อ 2
ipst banner
banner200
enter kidsd fill 196x53
banner fontthai fill 195x64
f0nt com fill 188x70

Facebook Fanpage

พิธีเฉลิมพระเกียรรติพระบาทสมเด็จพระปรเมนทรรามาธิบดีศรีสินทรมหาวชิราลงกรณ์มหิศรภูมิพลราชวรางกูรและวันภาษาไทยแห่งชาติ

363826967 776192717840348 3331656300096997641 n

Read more: จดหมายข่าวประชาสัมพันธ์

กิจกรรมการเรียนรู้ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพีย
ศูนย์การเรียนรู้ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ด้านการศึกษา
โรงเรียนบ้านโพนเมืองมะทัน อำเภอม่วงสามสิบ  จังหวัดอุบลราชธานี
ฐานพัฒนาทักษะอาชีพ  ฐานการเรียนรู้ต้นอ่อนทานตะวันปันสุข

ครูแกนนำ        1..นางสาว สุรัตน์ติกาญน์  อนุสนธ์

                   2...นางไพฑูรย์  ประหยัด

                   3. นายอัฐศราวุธ นามแสน

นักเรียนแกนนำ  1.เด็กหญิง ปพิชญา  บริสุทธิ์

                   2..เด็กชาย ณัฐพล ประทาน

                   3.เด็กหญิง ศศิธร ประวิง

                   4..เด็กหญิง ทอฝัน สุมทอง

สาระสำคัญ
          ฐานการเรียนรู้พัฒนาทักษะอาชีพ ฐานต้นอ่อนทานตะวันปันสุข ได้จัดกิจกรรมที่มุ่งพัฒนาทักษะด้านอาชีพให้กับนักเรียน นักเรียนจะได้เรียนรู้เกี่ยวกับประโยชน์ของต้นอ่อนทานตะวัน กระบวนการเพาะ กระบวนการเจริญเติบโตของต้นอ่อนทานตะวัน ซึ่งต้นอ่อนทานตะวันเป็นผักปลอดสารพิษ มีประโยชน์ต่อร่างกาย เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม สามารถนำมาประกอบอาหารได้หลากหลาย และใช้เวลาในการเพาะปลูกระยะสั้น สามารถนำมาจัดจำหน่ายเพื่อสร้างเป็นรายได้ ตลอดจนนำมาประกอบเป็นอาชีพได้ จากกิจกรรมของฐานต้นอ่อนทานตะวัน จะปลูกฝังให้นักเรียนเป็นผู้ที่มีความรับผิดชอบ อดทน เพียรพยายาม ซื่อสัตย์ ใช้เวลาว่างให้เกิดประโยชน์ อีกทั้งได้น้อมนำหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงมาประยุกต์ใช้ในการดำเนินการกิจกรรมของฐาน เป็นการปลูกฝังอุปนิสัยพอเพียงให้กับนักเรียนให้สามารถนำมาใช้ในชีวิตประจำวันได้จริง

วัตถุประสงค์

1...เพื่อให้นักเรียนมีความรู้เรื่องประโยชน์ของต้นอ่อนทานตะวัน

2. ..เพื่อให้นักเรียนได้เรียนรู้กระบวนการเพาะและการเจริญเติบโตของต้นอ่อนทานตะวัน

3...เพื่อให้นักเรียนตระหนักถึงโทษของการใช้สารเคมีในการปลูกพืช และการรักษาสิ่งแวดล้อม

4.....เพื่อปลูกฝังอุปนิสัยพอเพียง คุณธรรม ความรับผิดชอบ และการใช้เวลาว่างให้เกิดประโยชน์

5.. เพื่อให้นักเรียนได้ศึกษาและเรียนรู้จากแหล่งการเรียนรู้โดยการลงมือปฏิบัติจริง

6…เพื่อให้นักเรียนได้นำความรู้และประสบการณ์ ที่ได้จากฐานต้นอ่อนทานตะวันปันสุข ไปประยุกต์ใช้ในชีวิตจริง

กิจกรรมการเรียนรู้
1.ครูให้ความรู้เกี่ยวกับต้นอ่อนทานตะวัน

          - ประโยชน์ / คุณค่าทางโภชนาการ

          - กระบวนการเพาะต้นอ่อนทานตะวัน

          - การเจริญเติบโตของต้นอ่อนทานตะวัน

          - โทษของการใช้สารเคมีในการปลูกพืช

2. ..ครูให้ความรู้เกี่ยวกับการใช้และวิธีการดูแล บำรุงรักษาอุปกรณ์ต่างๆ ภายในโรงเรือน

3.....ครูและนักเรียนร่วมกันเพาะต้นอ่อนทานตะวัน และแบ่งเวรรับผิดชอบในแต่ละวัน

4....ครูและนักเรียนร่วมกับเก็บผลผลิตต้นอ่อนทานตะวัน ทำความสะอาด บรรจุ นำจำหน่าย และจัดทำบัญชีรายรับ-รายจ่าย

5...ครูและนักเรียนร่วมกันถอดบทเรียน ฐานต้นอ่อนทานตะวันปันสุข และร่วมกันสรุปความรู้ที่ได้จากการเรียนรู้

สื่อและอุปกรณ์การเรียนรู้
1ใบความรู้

          - ประโยชน์ของต้นอ่อนทานตะวัน

          - โทษของการใช้สารเคมี

2. เอกสารประกอบการใช้อุปกรณ์ต่างๆในโรงเรือน

3..อุปกรณ์ในการเพาะต้นอ่อนทานตะวัน

4..ป้ายความรู้ภายในโรงเรือน

5..ใบงาน ถอดบทเรียน

ความรู้ที่ได้รับจากฐานการเรียนรู้

1..ได้รู้ประโยชน์ของต้นอ่อนทานตะวัน

2. ได้รู้วิธีเพาะต้นอ่อนทานตะวัน

3..ได้รู้วิธีใช้ วิธีบำรุงรักษาอุปกรณ์ต่างๆ ภายในโรงเรือน

4...เพื่อปลูกฝังอุปนิสัยพอเพียง คุณธรรม ความรับผิดชอบ และการใช้เวลาว่างให้เกิดประโยชน์

การนำไปประยุกต์ใช้

..........นักเรียนนำความรู้ และประสบการณ์ที่ได้จากฐานการเรียนรู้ต้นอ่อนทานตะวันปันสุข ไปประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวันได้ เช่น การนำความรู้ที่ได้ไปเพาะต้นอ่อนทานตะวันเพื่อจำหน่าย เป็นการสร้างรายได้และสามารถนำมาประกอบเป็นอาชีพในอนาคตได้ การนำความรู้เรื่องการปลูกผักปลอดสารพิษไปใช้ในการปลูกผักชนิดอื่นๆ การนำความรู้เรื่องการทำบัญชีรายรับ-รายจ่ายไปประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวัน เป็นต้น

การประเมินผลการเรียนรู้และข้อเสนอแนะเพิ่มเติม

  • แบบสังเกตพฤติกรรม
  • ใบงาน ถอดบทเรียน

ความสอดคล้องกับหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง (2:3:4)

2 เงื่อนไข

ความรู้

คุณธรรม

-รู้วิธีการเพาะต้นอ่อนทานตะวัน

-รู้ประโยชน์ของต้นอ่อนทานตะวัน

-รู้แหล่งจำหน่าย ราคาที่ต้องขายตามท้องตลาด

-รู้วิธีใช้ วิธีดูแล บำรุงรักษาอุปกรณ์ในโรงเรือน

-รู้สถานที่ รู้งบประมาณ

-รู้จักทำบัญชีรายรับ-รายจ่าย

-มีความรับผิดชอบ

-ขยัน ความเพียรพยายาม

-ซื่อสัตย์ แบ่งปัน สามัคคี

3 หลักการ

พอประมาณ

มีเหตุผล

มีภูมิคุ้มกันในตัวที่ดี

- ระยะเวลาในการเพาะ และงบประมาณเหมาะสมพอดีกับการทำกิจกรรม

-สอดคล้องกับความต้องการของท้องตลาด

-เป็นการฝึกความรับผิดชอบ

-ฝึกทักษะการทำงานเป็นทีม

-เพื่อหารายได้ สร้างเป็นอาชีพ

-เป็นแหล่งการเรียนรู้

-ปลูกฝังอุปนิสัยพอเพียงให้กับนักเรียน รวมทั้งสามารถนำความรู้ ประสบการณ์ที่ได้ไปประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวันได้

-โรงเรือนมีความปลอดภัย

-กระบวนการเพาะปลอดภัย มีการวางแผนอย่างเป็นขั้นตอน

-เป็นผักปลอดสารพิษ

-มีความรู้ในการใช้ ดูแล เก็บรักษาอุปกรณ์เป็นอย่างดี

นำไปสู่เป้าหมาย สมดุลและพร้อมรับการเปลี่ยนแปลงใน 4 มิติ

ด้านวัตถุ

ด้านสังคม

ด้านสิ่งแวดล้อม

ด้านวัฒนธรรม

-สื่อ

-ใช้วัสดุอุปกรณ์ต่างๆอย่างคุ้มค่า

-ประหยัด

-เพิ่มรายได้

-ได้ฐานการเรียนรู้

-เกิดปฏิสัมพันธ์ระหว่างครู : นักเรียน : ผู้ปกครอง : ชุมชน

- รู้จักพึ่งพาตนเอง

-เกิดความสามัคคี

-เกิดอาชีพที่สุจริต

-ได้ผักปลอดสารพิษ

-ช่วยอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม

-รักษาความสะอาด ซ่อมแซมบำรุงโรงเรือนและอุปกรณ์อยู่เสมอ

-สืบสานปราชญ์ชาวบ้านเรื่องปลูกผักปลอดสารพิษเพื่อบริโภค

           

กิจกรรมการเรียนรู้ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง
ศูนย์การเรียนรู้ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ด้านการศึกษา
โรงเรียนบ้านโพนเมืองมะทัน อำเภอม่วงสามสิบ  จังหวัดอุบลราชธานี
ฐานพัฒนาทักษะอาชีพ  ฐานการเรียนรู้ฟักข้าวพอเพียงเลี้ยงชีพได้

ครูแกนนำ        1. นางเพ็ญไพ   เทศนา

                        2. นางสุรีพร   ไชยสิงห์

                        3. นางสาวรติมา   จันทะอุ่มเม้า

นักเรียนแกนนำ  1. ด.ญ.ฐานิตา   สายพฤกษ์

                   2. ด.ญ.กมิตรา   วีริคุณ

                   3.ด.ญ.สิรินทรา   ชนะเคน

                   4. พัชราพร   พรมวัลย์

1.สาระสำคัญ
          ฐานการเรียนรู้พัฒนาทักษะอาชีพ  ฐานฟักข้าวพอเพียงเลี้ยงชีพได้จัดเป็นกิจกรรมที่มุ่งพัฒนาทักษะทางด้านอาชีพให้กับนักเรียน โดยนักเรียนจะได้เรียนรู้เกี่ยวกับกระบวนการนำผลฟักข้าวมาแปรรูป เป็นผลิตภัณฑ์ที่นักเรียนชอบรับประทาน ทำชิพฟ่อนฟักข้าว น้ำฟักข้าว โดนัทจิ๋วฟักข้าวและวุ้นกะทิฟักข้าว ซึ่งมีส่วนผสมของเยื่อฟักข้าวและเนื้อฟักข้าว ที่เป็นประโยชน์ต่อสุขภาพแล้วยังผลิตจำหน่าย สามารถทำเป็นอาชีพเสริมให้กับครอบครัวได้ ผู้เรียนสามารถใช้เวลาว่างให้เกิดประโยชน์  นำความรู้ ประสบการณ์ ที่ได้จากฐานการเรียนรู้ฟักข้าวพอเพียงเลี้ยงชีพได้  ไปประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวันจริงเพื่อประกอบอาชีพในอนาคตได้

 

มาตรฐาน/ตัวชี้วัด

มาตรฐาน ง 2.1  เข้าใจ  มีทักษะที่จำเป็นมีประสบการณ์  เห็นแนวทางในงานอาชีพ  ใช้เทคโนโลยีเพื่อ

    พัฒนาอาชีพ มีคุณธรรมและมีเจตคติที่ดีต่ออาชีพ

 

2.วัตถุประสงค์

๑. เพื่อให้นักเรียนได้เรียนรู้วิธีการแปรรูปฟักข้าวเป็นชิฟฟ่อนฟักข้าว น้ำฟักข้าว วุ้นกะทิฟักข้าวและโดนัทจิ๋วฟักข้าว

๒. เพื่อให้นักเรียนได้เรียนรู้การใช้วัสดุ อุปกรณ์ในการแปรรูปฟักข้าว

๓. เพื่อให้นักเรียนได้ศึกษาหาความรู้จากแหล่งรู้

๔. เพื่อให้นักเรียนได้นำความรู้ ประสบการณ์ ที่ได้จากฐานการเรียนรู้ฟักข้าวพอเพียงเลี้ยงชีพได้ ไปประยุกต์ใช้ในชีวิตจริงได้

๓. สาระการเรียนรู้

                   - ชิฟฟ่อนฟักข้าว

                   -น้ำฟักข้าว

                   -วุ้นกะทิฟักข้าว

                   -โดนัทจิ๋วฟักข้าว

 

๔. กิจกรรมการเรียนรู้

๑.  แจ้งจุดประสงค์การเรียนรู้และวิธีการเรียนรู้ของบทเรียนนี้ให้นักเรียนทราบ

๒.  นักเรียนศึกษาความรู้จากป้ายนิเทศฐานฟักข้าวพอเพียงเลี้ยงชีพได้ สนทนาแลกเปลี่ยนเรียนรู้กับวิทยากรประจำฐาน จดบันทึกความรู้

๓.  ครูแกนนำ อธิบายส่วนผสมและวิธีทำพร้อมกับสาธิตการแปรรูปฟักข้าว

        ๔.  นักเรียนแบ่งกลุ่มย่อย คละนักเรียนเก่ง ปานกลาง และอ่อน  โดยฝึกปฏิบัติการแปรรูปฟักข้าว มีการจดบันทึก ขั้นตอนการทำ ครูเป็นผู้ตรวจสอบประเมินผลเสนอแนะ แล้วให้นักเรียนลงมือปฏิบัติตามขั้นตอน

        ๕. เมื่อนักเรียนปฏิบัติงานเสร็จแล้วให้เก็บอุปกรณ์เข้าที่ให้เรียบร้อย ทำความสะอาดห้องปฏิบัติการและทำความสะอาดร่างกาย 

        ๖. นักเรียนแต่ละกลุ่มนำผลิตภัณฑ์ไปจำหน่ายสินค้าภายในโรงเรียน

        ๗. นักเรียนแต่ละกลุ่มสรุปรายรับ จากการขายผลิตภัณฑ์ฟักข้าว สรุปเป็นรูปเล่ม

        ๘. นักเรียนแต่ละกลุ่มร่วมกันวิเคราะห์ถอดบทเรียนตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง

แล้วบันทึกผลการวิเคราะห์ในใบกิจกรรม กระบวนการเรียนรู้  ครูและนักเรียนร่วมกันสรุปเชื่อมโยงคำตอบคำถามทีละข้อให้สอดคล้องกับหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง

๕.สื่อวัสดุและอุปกรณ์การเรียนรู้

1) ป้ายนิเทศเรื่องการแปรรูปฟักข้าว

๒) ใบความรู้เกี่ยวกับการแปรรูปฟักข้าว

๓) มีรูปภาพ

๔) มีฟักข้าว น้ำตาล กะทิ แป้งสาลีอเนกประสงค์ ผลฟักข้าว น้ำ น้ำมันพืช  เกลือ กลิ่น ผงฟู ผงวุ้น

๕) ห้องปฏิบัติการ อุปกรณ์ทำครัวที่จำเป็นและเกี่ยวข้อง

๖. ความรู้ที่ได้รับจากฐานการเรียนรู้

          ๖.1 ศาสตร์พระราชา

หลักการทรงงาน

๑. การมีส่วนร่วม

๒. การทำงานอย่างมีความสุข

๓. ทำตามลำดับขั้นตอน

๔. การประหยัด เรียบง่าย

๕. ความพออยู่พอกิน

๖.2 ศาสตร์ภูมิปัญญาท้องถิ่น

-การใช้พืชสมุนไพรที่มีในโรงเรียนให้เกิดประโยชน์

๖.3 ศาสตร์สากล

-การเรียนรู้วิธีการแปรรูปฟักข้าวเป็นผลิตภัณฑ์ชิฟฟ่อนฟักข้าว น้ำฟักข้าว วุ้นกะทิฟักข้าวและโดนัทจิ๋วฟักข้าว (หลักสูตรแกนกลาง ๒๕๕๑ กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานพื้นฐานอาชีพ สาระที่ ๒ มาตรฐาน ง ๒.๑)

          -การทำบัญชีรายรับ-รายจ่าย

 

7. การนำไปประยุกต์ใช้

     7.1 การประยุกต์ใช้ในการดำเนินชีวิต

          - นำความรู้เกี่ยวกับการผลิตและจำหน่ายผลิตภัณฑ์ฟักข้าวในรูปแบบต่างๆ ไปประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวันได้

- มีทักษะในการผลิตและจำหน่าย

          - นำความรู้ไปประยุกต์ใช้และดำเนินชีวิตอย่างพอเพียงมีรายได้

    

7.2 การประยุกต์ใช้ในภารกิจตามหน้าที่

          -การจัดกิจกรรมการเรียนการรู้ในกลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและกิจกรรมชุมนุม

8. การประเมินผลการเรียนรู้

          - แบบสังเกตพฤติกรรมขณะทำกิจกรรมของฐานการเรียนรู้ เช่น สังเกตจากการสนทนา ซักถาม

จดบันทึก  การนำเสนอผลงาน การถอดบทเรียน

          -แบบประเมินผลการเรียนรู้

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

9.  ความสอดคล้องกับหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง (2 : 3 : 4)

2 เงื่อนไข

เงื่อนไขความรู้

เงื่อนไขคุณธรรม

-รู้ส่วนผสมพอเหมาะกับการแปรรูปฟักข้าวแต่ละครั้ง

-รู้วิธีบรรจุผลิตภัณฑ์และเลือกใช้วัสดุได้เหมาะสม

-รู้แหล่งจำหน่ายและวางแผนจำหน่าย

-รู้การทำบัญชีรายรับ-รายจ่าย    

-นักเรียนรู้คุณค่าของฟักข้าวที่มีอยู่ในโรงเรียนและชุมชน

-เพื่อเพิ่มมูลค่าของฟักข้าว

3 หลักการ

ความพอประมาณ

ความมีเหตุผล

การมีภูมิคุ้มกันในตัวที่ดี

-ใช้ปริมาณของส่วนผสมพอเหมาะกับการแปรรูปฟักข้าวแต่ละครั้ง

-ใช้เวลาในการแปรรูปได้เหมาะสม

-งบประมาณพอดีกับการทำแต่ละครั้ง

-นักเรียนรู้คุณค่าของฟักข้าวที่มีอยู่ในโรงเรียนและชุมชน

-เพื่อเพิ่มมูลค่าของฟักข้าว

-ศึกษาขั้นตอนการแปรรูปฟักข้าวให้ถูกต้อง

-สืบราคาผลิตภัณฑ์

-ความปลอดภัยในการแปรรูปฟักข้าว

-รักษาความสะอาดของวัสดุ-อุปกรณ์ในการแปรรูปฟักข้าว

นำไปสู่เป้าหมายสมดุลและพร้อมรับการเปลี่ยนแปลงใน 4 มิติ

ด้านวัตถุ

ด้านสังคม

ด้านสิ่งแวดล้อม

ด้านวัฒนธรรม

-นักเรียนมีทักษะในการใช้อุปกรณ์อย่างถูกต้องและประหยัด

รู้จักการทำงานร่วมกันกับผู้อื่น

-ลดการบริโภคอาหารที่ปรุงแต่งซึ่งเป็นอันตรายต่อสุขภาพ

-ได้น้ำหมักชีวภาพจากเปลือกฟักข้าว

-เรียนรู้วิถีชีวิตการแปรรูปฟักข้าว

-เรียนรู้การใช้ภูมิปัญญาไทยเกี่ยวกับสมุนไพรที่ในโรงเรียน

           

 

 

กิจกรรมการเรียนรู้ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง                                                                        

ศูนย์การเรียนรู้ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ด้านการศึกษา                                                         

โรงเรียนบ้านโพนเมืองมะทัน อำเภอม่วงสามสิบ จังหวัดอุบลราชธานี                                                              

ฐานพัฒนาทักษะอาชีพ ฐานการเรียนรู้ นางฟ้าประทาน

ครูแกนนำ           1.นายชม ประทาน          2. นายภาคภูมิ  สิทธิผล
                     3. นางสมปอง  ประทาน    4. นายมนัสชัย  สีแสด      5. นางสาวปริยานุช  เปนะนาม

นักเรียนแกนนำ   1. เด็กหญิงนิชนภา     มณีวรรณ                                                                                                                                                 2. เด็กหญิงนันทิชา   แก้วสุพรรณ์                                                                                                                                              3 .เด็กหญิงตวงพร   พิพัฒน์

สาระสำคัญ

                     กิจกรรมการเพาะเห็ด เป็นกิจกรรมที่มุ่งพัฒนาทักษะอาชีพให้กับนักเรียน เป็นการเรียนรู้เกี่ยวกับการเพาะเลี้ยงเห็ดนางฟ้า การเตรียมสถานที่ เตรียมวัสดุอุปกรณ์ต่างๆ การเพาะเลี้ยงเห็ดนางฟ้า การเปิดดอกและการกระตุ้นให้เห็ดนางฟ้าออกดอก การดูแลรักษา การเก็บผลผลิตเพื่อจำหน่าย สามารถทำเป็นอาชีพเสริมให้กับครอบครัวได้ ผู้เรียนสามารถใช้เวลาว่างให้เกิดประโยชน์ รู้จักกระบวนการทำงาน สามารถนำความรู้ ประสบการณ์ที่ได้จากฐานการเรียนรู้ไปประยุกต์ใช้ในชีวิตจริง เพื่อประกอบอาชีพในอนาคตได้

วัตถุประสงค์

  1. เพื่อใช้เป็นแหล่งเรียนรู้ให้นักเรียนได้ศึกษาหาความรู้
  2. เพื่อให้นักเรียนมีความรู้ความเข้าใจและมีทักษะในการเพาะเห็ดนางฟ้า
  3. เพื่อปลูกฝังอุปนิสัยพอเพียงให้กับนักเรียน
  4. เพื่อนำความรู้ ประสบการณ์ที่ได้จากฐานการเรียนรู้การเพาะเห็ดไปประยุกต์ใช้ในชีวิตจริงได้

กิจกรรมการเรียนรู้

  1. ศึกษาความรู้ของฐานการเพาะเห็ดนางฟ้าจากป้ายนิเทศจากฐานการเรียนรู้
  2. ศึกษาเรียนรู้จากแหล่งเรียนรู้โรงเรือนการเพาะเห็ดและวิทยากรประจำฐานอธิบายเพิ่มเติม
  3. พูดคุย แลกเปลี่ยนเรียนรู้ กับวิทยากรประจำฐาน
  4. ร่วมกันถอดบทเรียนความสอดคล้องของหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง หลักการทรงงานของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 9และสอดคล้องกับฐานการเรียนรู้การเพาะเห็ด
  5. ร่วมกันสรุปสาระความรู้ที่ได้รับจากการเรียนรู้ฐานการเพาะเห็ด
  6. นำความรู้และประสบการณ์ที่ได้ไปประยุกต์ใช้ และขยายผลต่อไป

สื่อและอุปกรณ์การเรียนรู้

  1. ใบงานถอดบทเรียนตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง
  2. ป้ายนิเทศความรู้การเพาะเห็ดนางฟ้า
  3. แหล่งเรียนรู้โรงเรือนการเพาะเห็ด

ความรู้ที่ได้รับจากฐานการเรียนรู้   

  1. ศาสตร์พระราชา หลักการทรงงาน - ทำตามลำดับชั้น
  • ภูมิสังคม - ประหยัดเรียบง่าย - ใช้ธรรมชาติช่วยธรรมชาติ – การพึ่งตนเอง  - พออยู่พอกิน
  1. ศาสตร์ภูมิปัญญาท้องถิ่น -ภูมิปัญญาด้านการแปรรูปผลผลิต เช่นแหนมเห็ด เห็ดสวรรค์ เป็นต้น
  2. ศาสตร์สากล -การวางแผนและการบริหารจัดการพื้นที่ของตนให้ใช้ประโยชน์อย่างคุ้มค่า           -ระบบสหกรณ์    การตลาด บัญชีครัวเรือน  - การเพิ่มคุณค่าผลผลิตและการแปรรูปผลิตภัณฑ์

การนำไปประยุกต์ใช้

            นำไปประยุกต์ใช้ในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้กลุ่มสาระการงานอาชีพ  กิจกรรมชุมนุม และการจัดการภูมิทัศน์ในโรงเรียนให้เป็นแหล่งเรียนรู้อย่างเหมาะสม

การประเมินผลการเรียนรู้และข้อเสนอแนะเพิ่มเติม

            สังเกตพฤติกรรมขณะทำกิจกรรมของฐานการเรียนรู้ เช่นสังเกตจากการสนทนา ซักถาม จดบันทึก  การนำเสนอผลงาน  การถอดบทเรียน

                   - ด้านความรู้  :  การตรวจสอบความถูกต้องจากการทำชิ้นงาน และใบงานที่กำหนด                         -                 -  ด้านทักษะ  :   การสังเกตการทำงานร่วมกันของนักเรียน  และความสำเร็จของงาน                                           -                 - ด้านเจตคติ   :  การสังเกต และสอบถามความพึงพอใจของนักเรียนในการเข้าร่วมกิจกรรม

 

ความสอดคล้องกับหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง (2:3:4 )

2 เงื่อนไข

ความรู้

คุณธรรม

มีความรู้เกี่ยวกับการเพาะเห็ดนางฟ้า เช่นการเลือกเชื้อเห็ด การใช้วัสดุเพาะเห็ด วงจรชีวิตของเห็ด การเจริญเติบโต การเก็บผลผลิต การแปรรูปผลผลิต

นักเรียนต้องมีความรับผิดชอบ มีความขยันอดทน มีความเพียร ตรงต่อเวลา เคารพกฎกติกา ความสามัคคี ความเอื้ออาทร ความซื่อสัตย์ในการเพาะเห็ดนางฟ้า

3 หลักการ

พอประมาณ

มีเหตุผล

มีภูมิคุมกันในตัวที่ดี

จำนวนก้อนเห็ดนางฟ้าที่เหมาะสมกับขนาดของโรงเรือน อุณหภูมิภายในโรงเรือนมีความเหมาะสมกับชนิดของเห็ดที่เพาะ

เพื่อให้นักเรียนมีความรู้ความเข้าใจและมีทักษะในการเพาะเห็ดนางฟ้าและปลูกฝังอุปนิสัยพอเพียงให้กับนักเรียน รวมทั้งสามารถนำความรู้และประสบการณ์ที่ได้จากกิจกรรมการเรียนรู้การเพาะเห็ดไปประยุกต์ใช้ในชีวิตจริงได้

มีการวางแผนการทำงานในการเพาะเห็ดอย่างเป็นขั้นตอน มีการจัดเตรียมวัสดุอุปกรณ์และเครื่องมือที่จำเป็นให้พร้อมกับการใช้งาน เฝ้าระวังรักษาอุณหภูมิและความชื้นภายในโรงเรือนทั้งกลางวันและกลางคืน

       

 

นำไปสู่เป้าหมายสมดุลและพร้อมรับการเปลี่ยนแปลงใน 4 มิติ

ด้านวัตถุ

ด้านสังคม

ด้านสิ่งแวดล้อม

ด้านวัฒนธรรม

นักเรียนมีความรู้และทักษะในการเพาะเห็ด สามารถเพาะเห็ดใช้บริโภคในครัวเรือนและโครงการอาหารกลางวันรวมทั้งจำหน่ายเพื่อเป็นรายได้ระหว่างเรียน

รู้จักพึ่งพากัน/ช่วยเหลือและแบ่งปันซึ่งกันและกันทำให้เกิดความเป็นหมู่คณะและมีการสร้างเครือข่ายการเรียนรู้ทางอาชีพ

ช่วยอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมโดยการนำก้อนเห็ดที่หมดเชื้อแล้วมาทำเป็นปุ๋ยใส่ต้นไม้

เห็นคุณค่าของการนำปราชญ์ชาวบ้านและภูมิปัญญาท้องถิ่นมาใช้ในการเพาะเห็ดและการแปรรูปผลิดภัณฑ์เห็ด

 

กิจกรรมการเรียนรู้ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง
ศูนย์การเรียนรู้ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ด้านการศึกษา
โรงเรียนบ้านโพนเมืองมะทัน อำเภอม่วงสามสิบ  จังหวัดอุบลราชธานี
ฐานพัฒนาทักษะชีวิต  ฐานการเรียนรู้คุณธรรมนำชีวิตน้อมจิตพอเพียง

ครูแกนนำ    1 นางพรทิพย์  ผาสุขนิตย์                        

                   2 นางสาวสุดารัตน์  แก้วขาว
                   3. นางสาววงศ์ดาว  ประทาน

นักเรียนแกนนำ  1  ด.ญ.นิตยา  ประวิง

                   2  ด.ญ.พัชราภรณ์  สดชื่น

                   3  ด.ช.เทพพิทักษ์  ศรีสุข

                   4  ด.ญ.พรนภา  กตัญญู

สาระสำคัญ
            โรงเรียนบ้านโพนเมืองมะทันได้ทำโครงการส่งเสริมคุณธรรม จริยธรรม ซึ่งมีแนวทางในการพัฒนาผู้เรียนโดยใช้หลักคุณธรรม จริยธรรม วัฒนธรรมขนบธรรมเนียม  ประเพณีของท้องถิ่นในการฝึกฝน และอบรมสอดแทรกในทุกกลุ่มสาระการเรียนรู้ให้สอดคล้องและสัมพันธ์กับการดำรงชีวิตของคนท้องถิ่นส่งเสริมให้ยึดมั่นในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ ทรงเป็นประมุข ช่วยเหลือเกื้อกูลซึ่งกันและกันปฏิบัติตามหลักธรรมคำสอนของพระพุทธศาสนาและนึกถึงประโยชน์ส่วนรวมมากกว่าส่วนตน

วัตถุประสงค์

1.  ส่งเสริมและพัฒนาผู้เรียนให้มีความรู้และเข้าใจในวัฒนธรรมประเพณีไทย

2.  ส่งเสริมและพัฒนาผู้เรียนให้รู้จักวิธีปฏิบัติให้ถูกต้องตามขนบธรรมเนียมและประเพณีไทยอันดีงาม

3.  ส่งเสริมและพัฒนาผู้เรียนให้มีคุณธรรมพื้นฐาน ๙ ประการ ขยัน ประหยัด ซื่อสัตย์ มีวินัย สุภาพ สะอาด สามัคคี มีน้ำใจ กตัญญู

4.  ส่งเสริมและพัฒนาผู้เรียนให้รู้จักสวดมนต์ ไหว้พระ รักษาศีล ๕ และนำไปใช้ในชีวิตประจำวัน

กิจกรรมการเรียนรู้
  ขั้นนำเข้าสู่บทเรียน

1.นักเรียนทำกิจกรรมไหว้พระสวดมนต์พร้อมกัน (5นาที)

2 นักเรียนฝึกนั่งสมาธิ (5นาที)

 ขั้นดำเนินกิจกรรม

3.นักเรียนปฏิบัติกิจกรรมการเรียนรู้เรื่อง ศาสนาประจำชาติไทย (เวลา 2 ชั่วโมง)

4.นักเรียนปฏิบัติกิจกรรมการเรียนรู้เรื่อง ระเบียบ มารยาท แนวปฏิบัติของชาวพุทธ (เวลา 2 ชั่วโมง)

5.นักเรียนปฏิบัติกิจกรรมการเรียนรู้เรื่อง วัฒนธรรม ขนบธรรมเนียม ประเพณีท้องถิ่น (เวลา 2 ชั่วโมง)

6.นักเรียนปฏิบัติกิจกรรมการเรียนรู้เรื่อง สวดมนต์ไหว้พระรัตนตรัย พร้อมคำแปล (เวลา 2 ชั่วโมง)

7.นักเรียนปฏิบัติกิจกรรมการเรียนรู้เรื่อง ศีล ๕ พร้อมคำแปล และแนวปฏิบัติ  (เวลา 2 ชั่วโมง)

ขั้นสรุปและประเมินผล

1.แบบประเมินพฤติกรรมการเรียนรู้ของนักเรียน

2.แบบประเมินหรือข้อทดสอบการเรียนรู้ประจำหน่วยการเรียนรู้

3. ครูผู้สอนได้จัดกิจกรรมการเรียนรู้ต่างๆ เป็นไปตามแผนที่วางไว้บางครั้งก็ได้มีการปรับเปลี่ยนยืดหยุ่นไปตามบริบท สภาพจริงแต่ยังคงเน้นตามสาระ มาตรฐาน ตัวชี้วัดที่ระบุในกิจกรรมในแผนเสมอ

4. ครูมีคำถามที่สร้างไว้ ตั้งไว้ตามมาตรฐาน สาระ กิจกรรม ตัวชี้วัดที่ระบุ แต่ไม่อาจถามได้และได้รับคำตอบเสมอไปขึ้นอยู่กับสถานการณ์จริง และบริบทของผู้เรียน อาจต้องมีการปรับเปลี่ยนคำถาม เพื่อให้ผู้เรียนเข้าใจและตอบได้ถึงแม้จะไม่ตรงประเด็นเท่าไร แต่สามารถฝึกการคิดวิเคราะห์ให้กับเด็กๆได้เสมอ

สื่อและอุปกรณ์การเรียนรู้
1. ห้องคุณธรรม จริยธรรม

2. ตัวอย่างโครงงานคุณธรรม

3. สื่อวัสดุออนไลน์ เช่น เรื่องเศรษฐกิจพอเพียง พระรัตนตรัย วันสำคัญทางศาสนา หลักธรรมคำสอน

4. ผลงานนักเรียน

5.แบบประเมินพฤติกรรม/แบบทดสอบประจำหน่วย

ความรู้ที่ได้รับจากฐานการเรียนรู้

1. มีความรู้เรื่องศาสนาประจำชาติไทย

2. มีความรู้เกี่ยวกับวันสำคัญต่างๆ

3. มีความรู้ระเบียบวิธีการปฏิบัติตนให้ถูกต้องตามมารยาทของชาวพุทธ

4 ปฏิบัติตนได้ถูกต้องตามขนบธรรมเนียมประเพณีไทย

5. ได้รับการฝึกสมาธิ

การนำไปประยุกต์ใช้

1. นักเรียนเป็นแบบอย่างที่ดีในโรงเรียน ชุมชน สังคม
2. นักเรียนเป็นผู้มีสติ รอบคอบ พร้อมรับความเปลี่ยนแปลง
3. นักเรียนปฏิบัติตนเป็นพุทธศาสนิกชนที่ดีในพุทธศาสนา

การประเมินผลการเรียนรู้และข้อเสนอแนะเพิ่มเติม

  • แบบสังเกตพฤติกรรม
  • แบบสอบถาม
  • ผลการเรียนของนักเรียน
  • แผนการสอนสามารถปรับ และเปลี่ยนแปลงได้ตามบริบท สถานที่ และตัวบุคคล

ความสอดคล้องกับหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง (2:3:4)

2 เงื่อนไข

ความรู้

คุณธรรม

๑.มีความรู้ในเรื่องศาสนา

๒.มีความรู้เกี่ยวกับวันสำคัญต่างๆ

๓.มีความรู้ระเบียบวิธีการปฏิบัติตนให้ถูกต้องตามมารยาทของชาวพุทธ

๔.ปฏิบัติตนได้ถูกต้องตามขนบธรรมเนียมประเพณีไทย

๑.มีความรับผิดชอบ

๒.มีความกตัญญู

๓.มีความประหยัด อดออม

๔. มีสติ สมาธิในการทำงาน

๕.มีน้ำใจ สามัคคี

3 หลักการ

พอประมาณ

มีเหตุผล

มีภูมิคุ้มกันในตัวที่ดี

-ใช้แหล่งเรียนรู้ได้เหมาะสมกับกิจกรรมที่กำหนด

-ใช้เวลาปฏิบัติกิจกรรมได้เหมาะสมตามขั้นตอน

-ผู้เรียนได้ใช้ฐานการเรียนรู้อย่างคุ้มค่ามีประโยชน์

-ผู้เรียนเกิดความรู้ตามวัตถุประสงค์

-นำหลักธรรมคำสอนในศาสนามาปฏิบัติเพื่อเป็นคนดีในสังคมได้

-วางแผนการใช้ชีวิตอย่างมีสติรอบคอบ

-ปฏิบัติตนถูกต้องตามหลักครรลองธรรมและประเพณี

นำไปสู่เป้าหมาย สมดุลและพร้อมรับการเปลี่ยนแปลงใน 4 มิติ

ด้านวัตถุ

ด้านสังคม

ด้านสิ่งแวดล้อม

ด้านวัฒนธรรม

-รู้วิธีใช้วัสดุอุปกรณ์อย่างคุ้มค่าและประหยัด

-ใช้วัสดุอุปกรณ์อย่างปลอดภัยระมัดระวัง

-เห็นคุณค่าของสิ่งของ วัสดุอุปกรณ์

-มีทักษะในการอยู่ร่วมกันกับผู้อื่นอย่างมีความสุข

-เห็นความสำคัญของการปฏิบัติตนตามมารยาทของชาวพุทธ

-แบ่งหน้าที่ความรับผิดชอบงานตามเหมาะสม

-รู้จักการทำงานร่วมกัน ยอมรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น

-รู้วิธีการใช้ทรัพยากร แหล่งเรียนรู้อย่างคุ้มค่า ประหยัด และเกิดประโยชน์สูงสุด

-ปฏิบัติตนตามระเบียบ ขนบธรรมเนียม ประเพณีไทยได้อย่างเหมาะสม

-มีความรัก เคารพ ภาคภูมิใจในความเป็นไทยและศาสนาพุทธ ซึ่งเป็นศาสนาประจำชาติ