![]() |
กิจกรรมการเรียนรู้ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง
ศูนย์การเรียนรู้ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ด้านการศึกษา
โรงเรียนบ้านโพนเมืองมะทัน อำเภอม่วงสามสิบ จังหวัดอุบลราชธานี
ฐานพัฒนาทักษะชีวิต ฐานการเรียนรู้คุณธรรมนำชีวิตน้อมจิตพอเพียง
ครูแกนนำ 1 นางพรทิพย์ ผาสุขนิตย์
2 นางสาวสุดารัตน์ แก้วขาว
3. นางสาววงศ์ดาว ประทาน
นักเรียนแกนนำ 1 ด.ญ.นิตยา ประวิง
2 ด.ญ.พัชราภรณ์ สดชื่น
3 ด.ช.เทพพิทักษ์ ศรีสุข
4 ด.ญ.พรนภา กตัญญู
สาระสำคัญ
โรงเรียนบ้านโพนเมืองมะทันได้ทำโครงการส่งเสริมคุณธรรม จริยธรรม ซึ่งมีแนวทางในการพัฒนาผู้เรียนโดยใช้หลักคุณธรรม จริยธรรม วัฒนธรรมขนบธรรมเนียม ประเพณีของท้องถิ่นในการฝึกฝน และอบรมสอดแทรกในทุกกลุ่มสาระการเรียนรู้ให้สอดคล้องและสัมพันธ์กับการดำรงชีวิตของคนท้องถิ่นส่งเสริมให้ยึดมั่นในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ ทรงเป็นประมุข ช่วยเหลือเกื้อกูลซึ่งกันและกันปฏิบัติตามหลักธรรมคำสอนของพระพุทธศาสนาและนึกถึงประโยชน์ส่วนรวมมากกว่าส่วนตน
วัตถุประสงค์
1. ส่งเสริมและพัฒนาผู้เรียนให้มีความรู้และเข้าใจในวัฒนธรรมประเพณีไทย
2. ส่งเสริมและพัฒนาผู้เรียนให้รู้จักวิธีปฏิบัติให้ถูกต้องตามขนบธรรมเนียมและประเพณีไทยอันดีงาม
3. ส่งเสริมและพัฒนาผู้เรียนให้มีคุณธรรมพื้นฐาน ๙ ประการ ขยัน ประหยัด ซื่อสัตย์ มีวินัย สุภาพ สะอาด สามัคคี มีน้ำใจ กตัญญู
4. ส่งเสริมและพัฒนาผู้เรียนให้รู้จักสวดมนต์ ไหว้พระ รักษาศีล ๕ และนำไปใช้ในชีวิตประจำวัน
กิจกรรมการเรียนรู้
ขั้นนำเข้าสู่บทเรียน
1.นักเรียนทำกิจกรรมไหว้พระสวดมนต์พร้อมกัน (5นาที)
2 นักเรียนฝึกนั่งสมาธิ (5นาที)
ขั้นดำเนินกิจกรรม
3.นักเรียนปฏิบัติกิจกรรมการเรียนรู้เรื่อง ศาสนาประจำชาติไทย (เวลา 2 ชั่วโมง)
4.นักเรียนปฏิบัติกิจกรรมการเรียนรู้เรื่อง ระเบียบ มารยาท แนวปฏิบัติของชาวพุทธ (เวลา 2 ชั่วโมง)
5.นักเรียนปฏิบัติกิจกรรมการเรียนรู้เรื่อง วัฒนธรรม ขนบธรรมเนียม ประเพณีท้องถิ่น (เวลา 2 ชั่วโมง)
6.นักเรียนปฏิบัติกิจกรรมการเรียนรู้เรื่อง สวดมนต์ไหว้พระรัตนตรัย พร้อมคำแปล (เวลา 2 ชั่วโมง)
7.นักเรียนปฏิบัติกิจกรรมการเรียนรู้เรื่อง ศีล ๕ พร้อมคำแปล และแนวปฏิบัติ (เวลา 2 ชั่วโมง)
ขั้นสรุปและประเมินผล
1.แบบประเมินพฤติกรรมการเรียนรู้ของนักเรียน
2.แบบประเมินหรือข้อทดสอบการเรียนรู้ประจำหน่วยการเรียนรู้
3. ครูผู้สอนได้จัดกิจกรรมการเรียนรู้ต่างๆ เป็นไปตามแผนที่วางไว้บางครั้งก็ได้มีการปรับเปลี่ยนยืดหยุ่นไปตามบริบท สภาพจริงแต่ยังคงเน้นตามสาระ มาตรฐาน ตัวชี้วัดที่ระบุในกิจกรรมในแผนเสมอ
4. ครูมีคำถามที่สร้างไว้ ตั้งไว้ตามมาตรฐาน สาระ กิจกรรม ตัวชี้วัดที่ระบุ แต่ไม่อาจถามได้และได้รับคำตอบเสมอไปขึ้นอยู่กับสถานการณ์จริง และบริบทของผู้เรียน อาจต้องมีการปรับเปลี่ยนคำถาม เพื่อให้ผู้เรียนเข้าใจและตอบได้ถึงแม้จะไม่ตรงประเด็นเท่าไร แต่สามารถฝึกการคิดวิเคราะห์ให้กับเด็กๆได้เสมอ
สื่อและอุปกรณ์การเรียนรู้
1. ห้องคุณธรรม จริยธรรม
2. ตัวอย่างโครงงานคุณธรรม
3. สื่อวัสดุออนไลน์ เช่น เรื่องเศรษฐกิจพอเพียง พระรัตนตรัย วันสำคัญทางศาสนา หลักธรรมคำสอน
4. ผลงานนักเรียน
5.แบบประเมินพฤติกรรม/แบบทดสอบประจำหน่วย
ความรู้ที่ได้รับจากฐานการเรียนรู้
1. มีความรู้เรื่องศาสนาประจำชาติไทย
2. มีความรู้เกี่ยวกับวันสำคัญต่างๆ
3. มีความรู้ระเบียบวิธีการปฏิบัติตนให้ถูกต้องตามมารยาทของชาวพุทธ
4 ปฏิบัติตนได้ถูกต้องตามขนบธรรมเนียมประเพณีไทย
5. ได้รับการฝึกสมาธิ
การนำไปประยุกต์ใช้
1. นักเรียนเป็นแบบอย่างที่ดีในโรงเรียน ชุมชน สังคม
2. นักเรียนเป็นผู้มีสติ รอบคอบ พร้อมรับความเปลี่ยนแปลง
3. นักเรียนปฏิบัติตนเป็นพุทธศาสนิกชนที่ดีในพุทธศาสนา
การประเมินผลการเรียนรู้และข้อเสนอแนะเพิ่มเติม
ความสอดคล้องกับหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง (2:3:4)
2 เงื่อนไข |
||||||
ความรู้ |
คุณธรรม |
|||||
๑.มีความรู้ในเรื่องศาสนา ๒.มีความรู้เกี่ยวกับวันสำคัญต่างๆ ๓.มีความรู้ระเบียบวิธีการปฏิบัติตนให้ถูกต้องตามมารยาทของชาวพุทธ ๔.ปฏิบัติตนได้ถูกต้องตามขนบธรรมเนียมประเพณีไทย |
๑.มีความรับผิดชอบ ๒.มีความกตัญญู ๓.มีความประหยัด อดออม ๔. มีสติ สมาธิในการทำงาน ๕.มีน้ำใจ สามัคคี |
|||||
3 หลักการ |
||||||
พอประมาณ |
มีเหตุผล |
มีภูมิคุ้มกันในตัวที่ดี |
||||
-ใช้แหล่งเรียนรู้ได้เหมาะสมกับกิจกรรมที่กำหนด -ใช้เวลาปฏิบัติกิจกรรมได้เหมาะสมตามขั้นตอน |
-ผู้เรียนได้ใช้ฐานการเรียนรู้อย่างคุ้มค่ามีประโยชน์ -ผู้เรียนเกิดความรู้ตามวัตถุประสงค์ -นำหลักธรรมคำสอนในศาสนามาปฏิบัติเพื่อเป็นคนดีในสังคมได้ |
-วางแผนการใช้ชีวิตอย่างมีสติรอบคอบ -ปฏิบัติตนถูกต้องตามหลักครรลองธรรมและประเพณี |
||||
นำไปสู่เป้าหมาย สมดุลและพร้อมรับการเปลี่ยนแปลงใน 4 มิติ |
||||||
ด้านวัตถุ |
ด้านสังคม |
ด้านสิ่งแวดล้อม |
ด้านวัฒนธรรม |
|||
-รู้วิธีใช้วัสดุอุปกรณ์อย่างคุ้มค่าและประหยัด -ใช้วัสดุอุปกรณ์อย่างปลอดภัยระมัดระวัง -เห็นคุณค่าของสิ่งของ วัสดุอุปกรณ์ |
-มีทักษะในการอยู่ร่วมกันกับผู้อื่นอย่างมีความสุข -เห็นความสำคัญของการปฏิบัติตนตามมารยาทของชาวพุทธ -แบ่งหน้าที่ความรับผิดชอบงานตามเหมาะสม -รู้จักการทำงานร่วมกัน ยอมรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น |
-รู้วิธีการใช้ทรัพยากร แหล่งเรียนรู้อย่างคุ้มค่า ประหยัด และเกิดประโยชน์สูงสุด |
-ปฏิบัติตนตามระเบียบ ขนบธรรมเนียม ประเพณีไทยได้อย่างเหมาะสม -มีความรัก เคารพ ภาคภูมิใจในความเป็นไทยและศาสนาพุทธ ซึ่งเป็นศาสนาประจำชาติ |
|||
กิจกรรมการเรียนรู้ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง
ศูนย์การเรียนรู้ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ด้านการศึกษา
โรงเรียนบ้านโพนเมืองมะทัน อำเภอม่วงสามสิบ จังหวัดอุบลราชธานี
ฐานพัฒนาทักษะวิชาการ ฐานการเรียนรู้รักการอ่านผ่านเทคโนโลยีมีความพอเพียง
ครูแกนนำ 1. นางสมคิด พวงธนะสาร 3. นางนันทนา เตชาวิวัฒนบูลย์
2. นางพิสมัย ยอดแก้ว 4. นางสายสมร เก๋งแก้ว 5. นายณัฐพล ศรีสมุทร
นักเรียนแกนนำ 1. นางสาววันวิสา สกุลจาบ
2. เด็กหญิงนันทิตา แก้วสุพรรณ์
3. เด็กหญิงชลธิชา พร้าวหอม
สาระสำคัญ
ห้องสมุดโรงเรียน เป็นแหล่งเรียนรู้ภายในโรงเรียนที่มีความสำคัญในการจัดกิจกรรมที่ส่งเสริมให้ผู้เรียนได้รู้จักศึกษาหาความรู้ด้วยตนเองโดยใช้เทคโนโลยีค้นหาความรู้ที่ตนสนใจได้อย่างหลากหลายและต่อเนื่องตลอดชีวิต ซึ่งจะเป็นการเรียนรู้ด้วยตนเองอย่างมีความสุขจนเกิดเป็นนิสัยรักการอ่านที่มั่นคงและยั่งยืนตลอดไป
วัตถุประสงค์
1. เพื่อส่งเสริมให้ครู นักเรียน มีแหล่งศึกษาค้นคว้าหาความรู้ด้วยตนเอง อย่างสร้างสรรค์
2. เพื่อส่งเสริมการสร้างทักษะด้านการพัฒนาตนเองด้วยการอ่าน การสื่อสารผ่านเทคโนโลยี
3. เพื่อเสริมสร้างนิสัยรักการอ่าน โดยใช้แหล่งเรียนรู้และเทคโนโลยีอย่างสร้างสรรค์ ในการพัฒนาความรู้ตลอดชีวิต
กิจกรรมการเรียนรู้
1. วิทยากรประจำฐานชี้แจง แนะนำการใช้ฐานการเรียนรู้
2. วิทยากรประจำฐานให้ความรู้เกี่ยวกับการใช้ห้องสมุดในการศึกษาค้นคว้าหาความรู้ รวมทั้งแนะนำกิจกรรมต่าง ๆ ของห้องสมุด
3. ผู้เรียนศึกษาความรู้ ค้นคว้าเรื่องที่สนใจด้วยตนเอง
4. ผู้เรียนบันทึกสาระความรู้ที่ได้ลงในสมุดบันทึกรักการอ่าน
5. ซักถามและแลกเปลี่ยนเรียนรู้กับวิทยากรประจำฐาน
6. ร่วมกันถอดบทเรียนความสอดคล้องของหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงกับฐานการเรียนรู้ห้องสมุด
7. นำความรู้และประสบการณ์ที่ได้ไปประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวัน
สื่อและอุปกรณ์การเรียนรู้
1. คอมพิวเตอร์, อุปกรณ์เชื่อมต่ออินเตอร์เน็ต
2. เครื่องขยายเสียง , อุปกรณ์ประกอบในการออกเสียงตามสาย
3. หนังสืออ่านประกอบเพิ่มเติมที่หลากหลาย
4. กระดาษ , อุปกรณ์จัดบอร์ด
5. โทรศัพท์มือถือของนักเรียน , โน๊ตบุ๊ค
ความรู้ที่ได้รับจากฐานการเรียนรู้
1. ความรู้ในเนื้อหา บทเรียนในกิจกรรมการเรียนการสอน
2. ความรู้ตามความสนใจ ที่เป็นประโยชน์ต่อตนเองและสังคม
3. ความรู้จากข่าวสาร จากการสืบค้นในโครงข่ายอินเตอร์เน็ต
4. ความรู้จากหนังสือ ตำรา เอกสารสิ่งพิมพ์ต่าง ๆ
5. ความรู้จากการใช้เทคโนโลยี
การนำไปประยุกต์ใช้
การประเมินผลการเรียนรู้และข้อเสนอแนะเพิ่มเติม
ความสอดคล้องกับหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง (2:3:4)
2 เงื่อนไข |
|||||
ความรู้ |
คุณธรรม |
||||
- ความสะดวกในการแสวงหาความรู้ - รับรู้ข่าวสาร - ถ่ายทอดความรู้ให้ผู้อื่นได้ |
- ความมีวินัย - ความขยันหมั่นเพียร - ความรับผิดชอบ |
||||
3 หลักการ |
|||||
พอประมาณ |
มีเหตุผล |
มีภูมิคุ้มกันในตัวที่ดี |
|||
- ใช้เทคโนโลยี,อุปกรณ์ อย่างรู้คุณค่า - จัดกิจกรรมได้หลากหลาย - ครู , นักเรียน ร่วมกันจัดกิจกรรมจากสื่อที่มีอยู่ |
- ใช้ทรัพยากรที่มีให้คุ้มค่า - ฝึกฝนเรียนรู้จากเทคโนโลยี - ใช้เทคโนโลยีผลิตสื่อ |
- สามารถใช้เทคโนโลยีเสริม, - ใช้เอกสารเพิ่มเติม ,หนังสือพิมพ์, วารสาร, หนังสืออื่น ๆ - อบรมครู ,นักเรียนให้สามารถทำหน้าที่แทนกันได้ |
|||
นำไปสู่เป้าหมาย สมดุลและพร้อมรับการเปลี่ยนแปลงใน 4 มิติ |
|||||
ด้านวัตถุ |
ด้านสังคม |
ด้านสิ่งแวดล้อม |
ด้านวัฒนธรรม |
||
- มีสื่อ/หนังสือ เพื่อการเรียนรู้ - ประหยัดค่าใช้จ่าย - ใช้ทรัพยากรที่มีอยู่อย่างคุ้มค่า |
- รับรู้ข่าวสาร -รู้กฎเกณฑ์ทางสังคม -มีส่วนร่วมจิตอาสา - รักในสถานบันของตนเอง |
- พัฒนาแหล่งเรียนรู้ |
- มีนิสัยรักการอ่าน - ใฝ่รู้ใฝ่เรียน - ภูมิใจในสถานบันของตนเอง - มีความสามัคคี |
||
พ.ศ. 2538 | ได้รับงบประมาณสร้างสนามกีฬาบาสเก็ตบอล จำนวนเงิน 128,000 บาทและได้รับงบประมาณสร้างส้วม แบบ สปช. 601/26 จำนวน 1 หลัง 4 ที่ จำนวน 90,000 บาท |
พ.ศ. 2540 | ได้รับงบประมาณ จัดทำห้องซาวด์แล็บและห้องวิทยาศาสตร์ พร้อมอุปกรณ์ |
พ.ศ. 2541 | โรงเรียนได้รับอนุมัติตำแหน่งผู้บริหาร เป็น ผู้อำนวยการ เมื่อวันที่ 19 มกราคม พ.ศ. 2541 |
พ.ศ.2542 | ได้รับอนุมัติรื้ออาคารเรียนหลังแรกเนื่องจากทรุดโทรมมาก และได้จัดทำเป็นที่เก็บวัสดุ 1 หลังได้รับงบประมาณสร้างอาคารเรียน แบบ สปช.105/29 จำนวน 1 หลัง จำนวน 1,800,000 บาท |
พ.ศ. 2543 | ได้รับงบประมาณโครงการ มิยาซาวา สร้างถังเก็บน้ำฝน 4 ถัง งบประมาณ 81,000 บาท |
พ.ศ. 2545 | นายพันธ์ศักดิ์ สืบสม ดำรงตำแหน่งอาจารย์ใหญ่ |
พ.ศ. 2546 | ได้รับเงินบริจาคจากชุมชน สร้างอาคารเรียนชั่วคราว "ชุมชนร่วมใจ" จำนวน 70,000 บาท |
พ.ศ. 2547 | นายพันธ์ศักดิ์ สืบสม ได้รับอนุมัติให้เลื่อนและแต่งตั้งเป็นผู้อำนวยการโรงเรียน และได้รับบริจาคจากคณะผ้าป่าสามัคคีกรุงเทพฯ ต่อเติมอาคารเรียนหลังที่ 3 ชั้นล่าง 4 ห้องเรียนและจัดซื้อคอมพิวเตอร์ จำนวนเงิน 237,869 บาท |
พ.ศ. 2548 | ได้รับเงินบริจาคจากชุมชนต่อเติมโรงอาหาร จำนวนเงิน 178,235 บาท และนางสาวพรทิพย์ คุปวาณิชพงษ์ สร้างที่ประดิษฐานพระพุทธรูปประจำสถานศึกษา จำนวน 5,000 บาท ได้รับบริจาคจาก "ตระกูลสุขบุญ" สร้าง อาคารภูมิปัญญา จำนวนเงิน 150,000 บาท |
พ.ศ. 2550 | ได้รับบริจาคจากชุมชนสร้างรั้วโรงเรียน จำนวนเงิน 85,000 บาท และได้รับงบประมาณจากองค์การบริหารส่วนตำบลหนองเหล่า ติดตั้งหม้อแปลงไฟฟ้าและเสาแรงต่ำจำนวนเงิน 245,600 บาท |
พ.ศ. 2551 | ได้รับงบประมาณก่อสร้างลานกีฬา (แบบกรมพลศึกษา) จำนวนเงิน 120,000 บา ได้รับบริจาคจากคณะผ้าป่าสามัคคีกรุงเทพฯ และศิษย์เก่า ตลอดจนชาวบ้านสร้างรั้วหน้าโรงเรียน - ปรับปรุงห้องสมุด จำนวนเงิน 125,850 บาท พร้อมกับได้รับงบประมาณสร้างส้วม แบบ สปช. 604/45 จำนวน 1 หลัง 4 ที่ จำนวนเงิน 240,000 บาท และ นายพีระศักดิ์ ทะรารัมย์ ได้ย้ายมาดำรงตำแหน่ง รองผู้อำนวยการโรงเรียน คนแรก |
พ.ศ. 2552 | ได้รับงบประมาณ จากมูลนิธิพัฒนาชีวิตชนบทโดยเครือเจริญโภคภัณฑ์สร้างโรงเรือนและเลี้ยงไก่พันธุ์ไข่ จำนวนเงิน 140,000 บาท |
พ.ศ. 2553 | นายกฤษดา สุภศร ได้มาบรรจุในตำแหน่งรองผู้อำนวยการโรงเรียนแทนคนเดิม และได้รับงบประมาณก่อสร้าง และจัดซื้อ
|
พ.ศ. 2554 | ได้รับงบประมาณในการก่อสร้างและจัดซื้อดังนี้
|
พ.ศ. 2555 | ปรับปรุงซ่อมแซมห้องน้ำและที่อาบน้ำชั้นอนุบาล จำนวน 100,000 บาท และปูกระเบื้องห้องเรียน จำนวน 100,000 บาท |
พ.ศ. 2556 | ได้รับการสนับสนุนงบประมาณ
|
พ.ศ. 2557 | ได้รับการสนับสนุนงบประมาณ
|
พ.ศ. 2558 |
|
พ.ศ. 2559 | ได้รับงบประมาณประจำปี 2560 ซ่อมแซมบ้านพักครู จำนวน 1 หลัง จำนวนเงิน 200,000 บาท |
พ.ศ. 2560 | ได้รับงบประมาณประจำปี 2560 จัดซื้อครุภัณฑ์การศึกษา จำนวนเงิน 60,000 บาท |
พ.ศ.2561 | ได้รับงบประมาณประจำปี 2561 ซ่อมแซมอาคารอเนกประสงค์ จำนวนเงิน 206,000 บาท |
โรงเรียนบ้านโพนเมืองมะทัน ในปัจจุบันมี นายคำนวล พวงธนะสาร ดำรงตำแหน่ง ผู้อำนวยการโรงเรียน
โรงเรียนบ้านบ้านโพนเมืองมะทัน จัดการเรียนรู้ให้นักเรียนมีความรู้ควบคู่คุณธรรม น้อมนำปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง "
เรียนดี กีฬาเด่น เน้นคุณธรรม นำชุมชน "
นตฺถิ ปัญญา สมา อาภา : แสงสว่างเสมอด้วยปัญญาไม่มี "
ฟ้า หมายถึง ความรอบรู้กว้างไกล
ขาว หมายถึง ความบริสุทธิ์ ยุติธรรม