กิจกรรมการเรียนรู้ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง
ศูนย์การเรียนรู้ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ด้านการศึกษา
โรงเรียนบ้านโพนเมืองมะทัน อำเภอม่วงสามสิบ จังหวัดอุบลราชธานี
ฐานพัฒนาทักษะอาชีพ ฐานการเรียนรู้ฟักข้าวพอเพียงเลี้ยงชีพได้
ครูแกนนำ 1. นางเพ็ญไพ เทศนา
2. นางสุรีพร ไชยสิงห์
3. นางสาวรติมา จันทะอุ่มเม้า
นักเรียนแกนนำ 1. ด.ญ.ฐานิตา สายพฤกษ์
2. ด.ญ.กมิตรา วีริคุณ
3.ด.ญ.สิรินทรา ชนะเคน
4. พัชราพร พรมวัลย์
1.สาระสำคัญ
ฐานการเรียนรู้พัฒนาทักษะอาชีพ ฐานฟักข้าวพอเพียงเลี้ยงชีพได้จัดเป็นกิจกรรมที่มุ่งพัฒนาทักษะทางด้านอาชีพให้กับนักเรียน โดยนักเรียนจะได้เรียนรู้เกี่ยวกับกระบวนการนำผลฟักข้าวมาแปรรูป เป็นผลิตภัณฑ์ที่นักเรียนชอบรับประทาน ทำชิพฟ่อนฟักข้าว น้ำฟักข้าว โดนัทจิ๋วฟักข้าวและวุ้นกะทิฟักข้าว ซึ่งมีส่วนผสมของเยื่อฟักข้าวและเนื้อฟักข้าว ที่เป็นประโยชน์ต่อสุขภาพแล้วยังผลิตจำหน่าย สามารถทำเป็นอาชีพเสริมให้กับครอบครัวได้ ผู้เรียนสามารถใช้เวลาว่างให้เกิดประโยชน์ นำความรู้ ประสบการณ์ ที่ได้จากฐานการเรียนรู้ฟักข้าวพอเพียงเลี้ยงชีพได้ ไปประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวันจริงเพื่อประกอบอาชีพในอนาคตได้
มาตรฐาน/ตัวชี้วัด
มาตรฐาน ง 2.1 เข้าใจ มีทักษะที่จำเป็นมีประสบการณ์ เห็นแนวทางในงานอาชีพ ใช้เทคโนโลยีเพื่อ
พัฒนาอาชีพ มีคุณธรรมและมีเจตคติที่ดีต่ออาชีพ
2.วัตถุประสงค์
๑. เพื่อให้นักเรียนได้เรียนรู้วิธีการแปรรูปฟักข้าวเป็นชิฟฟ่อนฟักข้าว น้ำฟักข้าว วุ้นกะทิฟักข้าวและโดนัทจิ๋วฟักข้าว
๒. เพื่อให้นักเรียนได้เรียนรู้การใช้วัสดุ อุปกรณ์ในการแปรรูปฟักข้าว
๓. เพื่อให้นักเรียนได้ศึกษาหาความรู้จากแหล่งรู้
๔. เพื่อให้นักเรียนได้นำความรู้ ประสบการณ์ ที่ได้จากฐานการเรียนรู้ฟักข้าวพอเพียงเลี้ยงชีพได้ ไปประยุกต์ใช้ในชีวิตจริงได้
๓. สาระการเรียนรู้
- ชิฟฟ่อนฟักข้าว
-น้ำฟักข้าว
-วุ้นกะทิฟักข้าว
-โดนัทจิ๋วฟักข้าว
๔. กิจกรรมการเรียนรู้
๑. แจ้งจุดประสงค์การเรียนรู้และวิธีการเรียนรู้ของบทเรียนนี้ให้นักเรียนทราบ
๒. นักเรียนศึกษาความรู้จากป้ายนิเทศฐานฟักข้าวพอเพียงเลี้ยงชีพได้ สนทนาแลกเปลี่ยนเรียนรู้กับวิทยากรประจำฐาน จดบันทึกความรู้
๓. ครูแกนนำ อธิบายส่วนผสมและวิธีทำพร้อมกับสาธิตการแปรรูปฟักข้าว
๔. นักเรียนแบ่งกลุ่มย่อย คละนักเรียนเก่ง ปานกลาง และอ่อน โดยฝึกปฏิบัติการแปรรูปฟักข้าว มีการจดบันทึก ขั้นตอนการทำ ครูเป็นผู้ตรวจสอบประเมินผลเสนอแนะ แล้วให้นักเรียนลงมือปฏิบัติตามขั้นตอน
๕. เมื่อนักเรียนปฏิบัติงานเสร็จแล้วให้เก็บอุปกรณ์เข้าที่ให้เรียบร้อย ทำความสะอาดห้องปฏิบัติการและทำความสะอาดร่างกาย
๖. นักเรียนแต่ละกลุ่มนำผลิตภัณฑ์ไปจำหน่ายสินค้าภายในโรงเรียน
๗. นักเรียนแต่ละกลุ่มสรุปรายรับ จากการขายผลิตภัณฑ์ฟักข้าว สรุปเป็นรูปเล่ม
๘. นักเรียนแต่ละกลุ่มร่วมกันวิเคราะห์ถอดบทเรียนตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง
แล้วบันทึกผลการวิเคราะห์ในใบกิจกรรม กระบวนการเรียนรู้ ครูและนักเรียนร่วมกันสรุปเชื่อมโยงคำตอบคำถามทีละข้อให้สอดคล้องกับหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง
๕.สื่อวัสดุและอุปกรณ์การเรียนรู้
1) ป้ายนิเทศเรื่องการแปรรูปฟักข้าว
๒) ใบความรู้เกี่ยวกับการแปรรูปฟักข้าว
๓) มีรูปภาพ
๔) มีฟักข้าว น้ำตาล กะทิ แป้งสาลีอเนกประสงค์ ผลฟักข้าว น้ำ น้ำมันพืช เกลือ กลิ่น ผงฟู ผงวุ้น
๕) ห้องปฏิบัติการ อุปกรณ์ทำครัวที่จำเป็นและเกี่ยวข้อง
๖. ความรู้ที่ได้รับจากฐานการเรียนรู้
๖.1 ศาสตร์พระราชา
หลักการทรงงาน
๑. การมีส่วนร่วม
๒. การทำงานอย่างมีความสุข
๓. ทำตามลำดับขั้นตอน
๔. การประหยัด เรียบง่าย
๕. ความพออยู่พอกิน
๖.2 ศาสตร์ภูมิปัญญาท้องถิ่น
-การใช้พืชสมุนไพรที่มีในโรงเรียนให้เกิดประโยชน์
๖.3 ศาสตร์สากล
-การเรียนรู้วิธีการแปรรูปฟักข้าวเป็นผลิตภัณฑ์ชิฟฟ่อนฟักข้าว น้ำฟักข้าว วุ้นกะทิฟักข้าวและโดนัทจิ๋วฟักข้าว (หลักสูตรแกนกลาง ๒๕๕๑ กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานพื้นฐานอาชีพ สาระที่ ๒ มาตรฐาน ง ๒.๑)
-การทำบัญชีรายรับ-รายจ่าย
7. การนำไปประยุกต์ใช้
7.1 การประยุกต์ใช้ในการดำเนินชีวิต
- นำความรู้เกี่ยวกับการผลิตและจำหน่ายผลิตภัณฑ์ฟักข้าวในรูปแบบต่างๆ ไปประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวันได้
- มีทักษะในการผลิตและจำหน่าย
- นำความรู้ไปประยุกต์ใช้และดำเนินชีวิตอย่างพอเพียงมีรายได้
7.2 การประยุกต์ใช้ในภารกิจตามหน้าที่
-การจัดกิจกรรมการเรียนการรู้ในกลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและกิจกรรมชุมนุม
8. การประเมินผลการเรียนรู้
- แบบสังเกตพฤติกรรมขณะทำกิจกรรมของฐานการเรียนรู้ เช่น สังเกตจากการสนทนา ซักถาม
จดบันทึก การนำเสนอผลงาน การถอดบทเรียน
-แบบประเมินผลการเรียนรู้
9. ความสอดคล้องกับหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง (2 : 3 : 4)
2 เงื่อนไข |
|||||
เงื่อนไขความรู้ |
เงื่อนไขคุณธรรม |
||||
-รู้ส่วนผสมพอเหมาะกับการแปรรูปฟักข้าวแต่ละครั้ง -รู้วิธีบรรจุผลิตภัณฑ์และเลือกใช้วัสดุได้เหมาะสม -รู้แหล่งจำหน่ายและวางแผนจำหน่าย -รู้การทำบัญชีรายรับ-รายจ่าย |
-นักเรียนรู้คุณค่าของฟักข้าวที่มีอยู่ในโรงเรียนและชุมชน -เพื่อเพิ่มมูลค่าของฟักข้าว |
||||
3 หลักการ |
|||||
ความพอประมาณ |
ความมีเหตุผล |
การมีภูมิคุ้มกันในตัวที่ดี |
|||
-ใช้ปริมาณของส่วนผสมพอเหมาะกับการแปรรูปฟักข้าวแต่ละครั้ง -ใช้เวลาในการแปรรูปได้เหมาะสม -งบประมาณพอดีกับการทำแต่ละครั้ง |
-นักเรียนรู้คุณค่าของฟักข้าวที่มีอยู่ในโรงเรียนและชุมชน -เพื่อเพิ่มมูลค่าของฟักข้าว |
-ศึกษาขั้นตอนการแปรรูปฟักข้าวให้ถูกต้อง -สืบราคาผลิตภัณฑ์ -ความปลอดภัยในการแปรรูปฟักข้าว -รักษาความสะอาดของวัสดุ-อุปกรณ์ในการแปรรูปฟักข้าว |
|||
นำไปสู่เป้าหมายสมดุลและพร้อมรับการเปลี่ยนแปลงใน 4 มิติ |
|||||
ด้านวัตถุ |
ด้านสังคม |
ด้านสิ่งแวดล้อม |
ด้านวัฒนธรรม |
||
-นักเรียนมีทักษะในการใช้อุปกรณ์อย่างถูกต้องและประหยัด |
รู้จักการทำงานร่วมกันกับผู้อื่น |
-ลดการบริโภคอาหารที่ปรุงแต่งซึ่งเป็นอันตรายต่อสุขภาพ -ได้น้ำหมักชีวภาพจากเปลือกฟักข้าว |
-เรียนรู้วิถีชีวิตการแปรรูปฟักข้าว -เรียนรู้การใช้ภูมิปัญญาไทยเกี่ยวกับสมุนไพรที่ในโรงเรียน |
||