กิจกรรมการเรียนรู้ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง
ศูนย์การเรียนรู้ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ด้านการศึกษา
โรงเรียนบ้านโพนเมืองมะทัน อำเภอม่วงสามสิบ  จังหวัดอุบลราชธานี
ฐานพัฒนาทักษะชีวิต  ฐานการเรียนรู้คุณธรรมนำชีวิตน้อมจิตพอเพียง

ครูแกนนำ    1 นางพรทิพย์  ผาสุขนิตย์                        

                   2 นางสาวสุดารัตน์  แก้วขาว
                   3. นางสาววงศ์ดาว  ประทาน

นักเรียนแกนนำ  1  ด.ญ.นิตยา  ประวิง

                   2  ด.ญ.พัชราภรณ์  สดชื่น

                   3  ด.ช.เทพพิทักษ์  ศรีสุข

                   4  ด.ญ.พรนภา  กตัญญู

สาระสำคัญ
            โรงเรียนบ้านโพนเมืองมะทันได้ทำโครงการส่งเสริมคุณธรรม จริยธรรม ซึ่งมีแนวทางในการพัฒนาผู้เรียนโดยใช้หลักคุณธรรม จริยธรรม วัฒนธรรมขนบธรรมเนียม  ประเพณีของท้องถิ่นในการฝึกฝน และอบรมสอดแทรกในทุกกลุ่มสาระการเรียนรู้ให้สอดคล้องและสัมพันธ์กับการดำรงชีวิตของคนท้องถิ่นส่งเสริมให้ยึดมั่นในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ ทรงเป็นประมุข ช่วยเหลือเกื้อกูลซึ่งกันและกันปฏิบัติตามหลักธรรมคำสอนของพระพุทธศาสนาและนึกถึงประโยชน์ส่วนรวมมากกว่าส่วนตน

วัตถุประสงค์

1.  ส่งเสริมและพัฒนาผู้เรียนให้มีความรู้และเข้าใจในวัฒนธรรมประเพณีไทย

2.  ส่งเสริมและพัฒนาผู้เรียนให้รู้จักวิธีปฏิบัติให้ถูกต้องตามขนบธรรมเนียมและประเพณีไทยอันดีงาม

3.  ส่งเสริมและพัฒนาผู้เรียนให้มีคุณธรรมพื้นฐาน ๙ ประการ ขยัน ประหยัด ซื่อสัตย์ มีวินัย สุภาพ สะอาด สามัคคี มีน้ำใจ กตัญญู

4.  ส่งเสริมและพัฒนาผู้เรียนให้รู้จักสวดมนต์ ไหว้พระ รักษาศีล ๕ และนำไปใช้ในชีวิตประจำวัน

กิจกรรมการเรียนรู้
  ขั้นนำเข้าสู่บทเรียน

1.นักเรียนทำกิจกรรมไหว้พระสวดมนต์พร้อมกัน (5นาที)

2 นักเรียนฝึกนั่งสมาธิ (5นาที)

 ขั้นดำเนินกิจกรรม

3.นักเรียนปฏิบัติกิจกรรมการเรียนรู้เรื่อง ศาสนาประจำชาติไทย (เวลา 2 ชั่วโมง)

4.นักเรียนปฏิบัติกิจกรรมการเรียนรู้เรื่อง ระเบียบ มารยาท แนวปฏิบัติของชาวพุทธ (เวลา 2 ชั่วโมง)

5.นักเรียนปฏิบัติกิจกรรมการเรียนรู้เรื่อง วัฒนธรรม ขนบธรรมเนียม ประเพณีท้องถิ่น (เวลา 2 ชั่วโมง)

6.นักเรียนปฏิบัติกิจกรรมการเรียนรู้เรื่อง สวดมนต์ไหว้พระรัตนตรัย พร้อมคำแปล (เวลา 2 ชั่วโมง)

7.นักเรียนปฏิบัติกิจกรรมการเรียนรู้เรื่อง ศีล ๕ พร้อมคำแปล และแนวปฏิบัติ  (เวลา 2 ชั่วโมง)

ขั้นสรุปและประเมินผล

1.แบบประเมินพฤติกรรมการเรียนรู้ของนักเรียน

2.แบบประเมินหรือข้อทดสอบการเรียนรู้ประจำหน่วยการเรียนรู้

3. ครูผู้สอนได้จัดกิจกรรมการเรียนรู้ต่างๆ เป็นไปตามแผนที่วางไว้บางครั้งก็ได้มีการปรับเปลี่ยนยืดหยุ่นไปตามบริบท สภาพจริงแต่ยังคงเน้นตามสาระ มาตรฐาน ตัวชี้วัดที่ระบุในกิจกรรมในแผนเสมอ

4. ครูมีคำถามที่สร้างไว้ ตั้งไว้ตามมาตรฐาน สาระ กิจกรรม ตัวชี้วัดที่ระบุ แต่ไม่อาจถามได้และได้รับคำตอบเสมอไปขึ้นอยู่กับสถานการณ์จริง และบริบทของผู้เรียน อาจต้องมีการปรับเปลี่ยนคำถาม เพื่อให้ผู้เรียนเข้าใจและตอบได้ถึงแม้จะไม่ตรงประเด็นเท่าไร แต่สามารถฝึกการคิดวิเคราะห์ให้กับเด็กๆได้เสมอ

สื่อและอุปกรณ์การเรียนรู้
1. ห้องคุณธรรม จริยธรรม

2. ตัวอย่างโครงงานคุณธรรม

3. สื่อวัสดุออนไลน์ เช่น เรื่องเศรษฐกิจพอเพียง พระรัตนตรัย วันสำคัญทางศาสนา หลักธรรมคำสอน

4. ผลงานนักเรียน

5.แบบประเมินพฤติกรรม/แบบทดสอบประจำหน่วย

ความรู้ที่ได้รับจากฐานการเรียนรู้

1. มีความรู้เรื่องศาสนาประจำชาติไทย

2. มีความรู้เกี่ยวกับวันสำคัญต่างๆ

3. มีความรู้ระเบียบวิธีการปฏิบัติตนให้ถูกต้องตามมารยาทของชาวพุทธ

4 ปฏิบัติตนได้ถูกต้องตามขนบธรรมเนียมประเพณีไทย

5. ได้รับการฝึกสมาธิ

การนำไปประยุกต์ใช้

1. นักเรียนเป็นแบบอย่างที่ดีในโรงเรียน ชุมชน สังคม
2. นักเรียนเป็นผู้มีสติ รอบคอบ พร้อมรับความเปลี่ยนแปลง
3. นักเรียนปฏิบัติตนเป็นพุทธศาสนิกชนที่ดีในพุทธศาสนา

การประเมินผลการเรียนรู้และข้อเสนอแนะเพิ่มเติม

  • แบบสังเกตพฤติกรรม
  • แบบสอบถาม
  • ผลการเรียนของนักเรียน
  • แผนการสอนสามารถปรับ และเปลี่ยนแปลงได้ตามบริบท สถานที่ และตัวบุคคล

ความสอดคล้องกับหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง (2:3:4)

2 เงื่อนไข

ความรู้

คุณธรรม

๑.มีความรู้ในเรื่องศาสนา

๒.มีความรู้เกี่ยวกับวันสำคัญต่างๆ

๓.มีความรู้ระเบียบวิธีการปฏิบัติตนให้ถูกต้องตามมารยาทของชาวพุทธ

๔.ปฏิบัติตนได้ถูกต้องตามขนบธรรมเนียมประเพณีไทย

๑.มีความรับผิดชอบ

๒.มีความกตัญญู

๓.มีความประหยัด อดออม

๔. มีสติ สมาธิในการทำงาน

๕.มีน้ำใจ สามัคคี

3 หลักการ

พอประมาณ

มีเหตุผล

มีภูมิคุ้มกันในตัวที่ดี

-ใช้แหล่งเรียนรู้ได้เหมาะสมกับกิจกรรมที่กำหนด

-ใช้เวลาปฏิบัติกิจกรรมได้เหมาะสมตามขั้นตอน

-ผู้เรียนได้ใช้ฐานการเรียนรู้อย่างคุ้มค่ามีประโยชน์

-ผู้เรียนเกิดความรู้ตามวัตถุประสงค์

-นำหลักธรรมคำสอนในศาสนามาปฏิบัติเพื่อเป็นคนดีในสังคมได้

-วางแผนการใช้ชีวิตอย่างมีสติรอบคอบ

-ปฏิบัติตนถูกต้องตามหลักครรลองธรรมและประเพณี

นำไปสู่เป้าหมาย สมดุลและพร้อมรับการเปลี่ยนแปลงใน 4 มิติ

ด้านวัตถุ

ด้านสังคม

ด้านสิ่งแวดล้อม

ด้านวัฒนธรรม

-รู้วิธีใช้วัสดุอุปกรณ์อย่างคุ้มค่าและประหยัด

-ใช้วัสดุอุปกรณ์อย่างปลอดภัยระมัดระวัง

-เห็นคุณค่าของสิ่งของ วัสดุอุปกรณ์

-มีทักษะในการอยู่ร่วมกันกับผู้อื่นอย่างมีความสุข

-เห็นความสำคัญของการปฏิบัติตนตามมารยาทของชาวพุทธ

-แบ่งหน้าที่ความรับผิดชอบงานตามเหมาะสม

-รู้จักการทำงานร่วมกัน ยอมรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น

-รู้วิธีการใช้ทรัพยากร แหล่งเรียนรู้อย่างคุ้มค่า ประหยัด และเกิดประโยชน์สูงสุด

-ปฏิบัติตนตามระเบียบ ขนบธรรมเนียม ประเพณีไทยได้อย่างเหมาะสม

-มีความรัก เคารพ ภาคภูมิใจในความเป็นไทยและศาสนาพุทธ ซึ่งเป็นศาสนาประจำชาติ