โรงเรียนบ้านโพนเมืองมะทัน

โรงเรียนบ้านโพนเมืองมะทัน (Polmungmatan school) ตั้งอยู่ที่ หมู่ที่ 6 บ้านโพนเมืองมะทัน ตำบลหนองเหล่า อำเภอม่วงสามสิบ จังหวัดอุบลราชธานี รหัสไปรษณีย์ 34140 โทรศัพท์ 081-760-2741 สังกัด สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุบลราชธานี เขต 1 เปิดสอนตั้งแต่ระดับชั้นอนุบาลปีที่ 1 ถึงระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 มีเขตพื้นที่บริการ 5 หมู่บ้าน ได้แก่ หมู่ที่ 5 หมู่ที่ 6 หมู่ที่ 8 หมู่ที่ 13 และหมู่ที่ 14 ตำบลหนองเหล่า อำเภอม่วงสามสิบ จังหวัดอุบลราชธานี มีเนื้อที่ 24 ไร่ - งาน - ตารางวา

name plate

ประวัติการก่อตั้งโรงเรียน

โรงเรียนบ้านโพนเมืองมะทัน ก่อตั้งขึ้นครั้งแรกเมื่อวันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2454 ด้วยความร่วมมือของกำนัน ผู้ใหญ่บ้าน และราษฎร ในตำบลหนองเหล่า โดยอาศัยศาลาวัดเป็นสถานที่เรียน มี พระจันที มีทรัพย์ เป็นครูผู้สอน การจัดการเรียนการสอนในยุคสมัยเริ่มแรก เป็นการสอนเหมือนกับสอนศิษย์วัด งบประมาณต้องอาศัยปัจจัยจากชาวบ้านตามแต่กำลังศรัทธา

พ.ศ. 2456 จัดให้มีบัญชีเรียกชื่อนักเรียน วัสดุอุปกรณ์ได้รับจากราษฎร์ คนละ 20 สตางค์ เป็นค่าบำรุงและทำรายงานส่งอำเภอทุกเดือน
พ.ศ. 2461 จัดให้มีสมุดบัญชีนักเรียน และสมุดหมายเหตุรายวันเป็นการถาวร ต่อมา พระจันที มีทรัพย์ ได้ลาออกตำแหน่งครูสอน ทางอำเภอได้บรรจุสามเณร จันทา ศรีเมืองซอง มาทำการสอนแทน
พ.ศ. 2462 ทางอำเภอได้บรรจุ พระคูณ มีธรรม มาทำการสอน ต่อมาได้ลาออก
พ.ศ. 2466 ทางอำเภอได้ย้าย นายปลั่ง ทองนนท์ มาเป็นครูใหญ่ จัดการเรียนการสอนมีชั้น ป.1 ก และ ป. 1 ข และในปีนี้ได้ประกาศใช้พระราชบัญญัติประถมศึกษา มีนักเรียนทั้งหมด169 คน มีครู 5 คน แบ่งชั้นเรียนเป็น ป.1 ก ถึง ป. 1 ง และชั้น ป. 2 จัดการเรียนการสอนให้เป็นระบบขึ้น
พ.ศ. 2468 ได้ย้ายโรงเรียนออกจากศาลาวัดไปตั้งเป็นเอกเทศ ทางทิศตะวันออกของหมู่บ้าน ห่างประมาณ 600 เมตร สร้างเป็นอาคารชั่วคราวขึ้น ซึ่งเป็นที่ตั้งของโรงเรียนในปัจจุบัน โดยได้รับบริจาคที่ดินจากราษฎรในหมู่บ้าน มีเนื้อที่ 24 ไร่ – งาน – ตารางวา

school floor plan

พ.ศ. 2470 นายสุวรรณ โสมเจษตรินทร์ มาดำรงตำแหน่งครูใหญ่
พ.ศ. 2471 นายลี นัยนวล มาดำรงตำแหน่งครูใหญ่ ต่อมาได้ย้ายไปเป็นครูใหญ่ โรงเรียนม่วงสามสิบ (อำนวยปัญญา)
พ.ศ. 2474 ทางอำเภอได้แต่งตั้ง นายชาลี คุณธรรม เป็นครูใหญ่ และในปีนี้เองที่ครูใหญ่ได้ร่วมกับคณะครู และนายคำดี บรรลุศิลป์ กำนัน พร้อมด้วยราษฎรในตำบลได้จัดสร้างอาคารเรียนถาวรขึ้น
พ.ศ. 2478 นายผอง วิริยะกุล ดำรงตำแหน่งครูใหญ่
พ.ศ. 2500 นายประสงค์ สุขบุญ ดำรงตำแหน่งครูใหญ่
พ.ศ.2513 นายไพบูลย์ วรรณสาย เป็นครูใหญ่ ได้รื้ออาคารหลังเก่าเพราะชำรุดมากสร้างเป็นอาคารหลังใหม่ โดยได้งบประมาณ 30,000 บาท เงินสมทบจากคณะครูและราษฎรในตำบลอีกเป็นเงิน 35,000 บาท รวมทั้งสิ้น 65,000 บาท สร้างเสร็จเมื่อวันที่ 19 ตุลาคม พ.ศ. 2514
พ.ศ. 2516 นายโกวิท ชาวเหนือ เป็นครูใหญ่
พ.ศ. 2517 นายประชุม วิริยะกุล เป็นครูใหญ่
พ.ศ. 2522 ได้รับงบประมาณสร้างอาคารเรียน แบบ ป.1 ซ จำนวน 3 ห้องเรียน 1 หลัง ขณะนั้นมีครู 7 คน และในวันที่ 4 กันยายน พ.ศ. 2522 ได้เกิดไฟไหม้ตู้เก็บเอกสาร 1 หลังและอาคารเรียนเสียหาย ชาวบ้านได้ช่วยกันดับไฟได้ทัน วันที่ 3 มกราคม พ.ศ. 2522 นายประชุม วิริยะกุล ครูใหญ่ ได้ประสบอุบัติเหตุถึงแก่กรรม
พ.ศ. 2523 วันที่ 27 มีนาคม คนร้ายได้ลอบวางเพลิงอาคารเรียนหลังใหม่ทางทิศเหนือ เสียหายเล็กน้อย นายชุมพร นามแสน มาดำรงตำแหน่งครูใหญ่แทน
พ.ศ. 2524 นายอำนาจ นามแสน ดำรงตำแหน่งครูใหญ่ และได้รับงบประมาณสร้างส้วม 1 หลัง 5 ที่

trirong field

พ.ศ. 2525 ได้รับงบประมาณต่อเติมอาคารเรียน แบบ ป. 1 ซ. ชั้นล่าง และได้รับเงินบริจาคจากคณะผ้าป่าสามัคคี กรุงเทพฯ และชาวบ้าน เพื่อทำซุ้มประตู เป็นเงิน 8,000 บาท
พ.ศ. 2526 ได้รับงบประมาณสร้างอาคารเอนกประสงค์ แบบ สปช. 201/26 และได้รับบริจาคกลองพาเหรด 1 ชุด และอุปกรณ์ไฟฟ้า เข้าโรงเรียนจาก สจ.ธนา เมตตาริกานนท์ เป็นเงิน 8,000 บาท
พ.ศ. 2527 ได้รับการก่อสร้างถังเก็บน้ำฝน แบบ ฝ.33 จำนวน 6 ถัง จากสาธารณสุขและสภาตำบลหนองเหล่า
พ.ศ.2528 โรงเรียนได้รับอนุมัติตำแหน่งจาก ครูใหญ่ เป็น อาจารย์ใหญ่ และได้รับงบประมาณสร้างบ้านพักครู แบบ สปช.301 จำนวน 1 หลัง และบ่อเลี้ยงปลาแบบ สปช. 1 บ่อ
พ.ศ. 2529 โรงเรียนได้รับคัดเลือกเป็น "โรงเรียนในโครงการการศึกษาเพื่อพัฒนาหมู่บ้าน ในเขตชนบทยากจน" และได้รับอนุมัติเปิดขยายชั้นเด็กเล็กเป็นครั้งแรก
พ.ศ. 2530 ได้รับงบประมาณสร้างอาคารเรียน แบบ สปช.105/29 จำนวน 1 หลัง ราคา 816,000 บาท และได้รับบริจาคเพื่อสร้างบ่อน้ำบาดาล จาก คุณแม่ยุพิน สมบูรณ์ทรัพย์ และคณะผ้าป่าสามัคคีกรุงเทพฯ สร้างห้องสมุดเป็นเงิน 37,000 บาท และจาก สส.ธนา เมตตาริกานนท์ จำนวน 5,000 บาท
พ.ศ. 2532 ได้รับงบประมาณสร้างส้วมแบบ สปช.601/26 จำนวน 1 หลัง 4 ที่
พ.ศ. 2533 ได้รับงบประมาณขุดบ่อเลี้ยงปลาจากโครงการอีสานเขียว จำนวน 1 บ่อ
พ.ศ. 2534 ได้รับอนุมัติตำแหน่งเป็นอาจารย์ใหญ่ ระดับ7 และได้รับงบประมาณขุดบ่อเลี้ยงปลาจากกรมประมงจำนวน 1 บ่อ
พ.ศ. 2535 โรงเรียนได้รับอนุมัติให้เปิดเป็น "โรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษา ระดับมัธยมศึกษาตอนต้น"

building 01

next greenอ่านต่อประวัติโรงเรียน หน้าที่ 2

lilred