กิจกรรมการเรียนรู้ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง                                                                        

ศูนย์การเรียนรู้ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ด้านการศึกษา                                                         

โรงเรียนบ้านโพนเมืองมะทัน อำเภอม่วงสามสิบ จังหวัดอุบลราชธานี                                                              

ฐานพัฒนาทักษะอาชีพ ฐานการเรียนรู้ นางฟ้าประทาน

ครูแกนนำ           1.นายชม ประทาน          2. นายภาคภูมิ  สิทธิผล
                     3. นางสมปอง  ประทาน    4. นายมนัสชัย  สีแสด      5. นางสาวปริยานุช  เปนะนาม

นักเรียนแกนนำ   1. เด็กหญิงนิชนภา     มณีวรรณ                                                                                                                                                 2. เด็กหญิงนันทิชา   แก้วสุพรรณ์                                                                                                                                              3 .เด็กหญิงตวงพร   พิพัฒน์

สาระสำคัญ

                     กิจกรรมการเพาะเห็ด เป็นกิจกรรมที่มุ่งพัฒนาทักษะอาชีพให้กับนักเรียน เป็นการเรียนรู้เกี่ยวกับการเพาะเลี้ยงเห็ดนางฟ้า การเตรียมสถานที่ เตรียมวัสดุอุปกรณ์ต่างๆ การเพาะเลี้ยงเห็ดนางฟ้า การเปิดดอกและการกระตุ้นให้เห็ดนางฟ้าออกดอก การดูแลรักษา การเก็บผลผลิตเพื่อจำหน่าย สามารถทำเป็นอาชีพเสริมให้กับครอบครัวได้ ผู้เรียนสามารถใช้เวลาว่างให้เกิดประโยชน์ รู้จักกระบวนการทำงาน สามารถนำความรู้ ประสบการณ์ที่ได้จากฐานการเรียนรู้ไปประยุกต์ใช้ในชีวิตจริง เพื่อประกอบอาชีพในอนาคตได้

วัตถุประสงค์

  1. เพื่อใช้เป็นแหล่งเรียนรู้ให้นักเรียนได้ศึกษาหาความรู้
  2. เพื่อให้นักเรียนมีความรู้ความเข้าใจและมีทักษะในการเพาะเห็ดนางฟ้า
  3. เพื่อปลูกฝังอุปนิสัยพอเพียงให้กับนักเรียน
  4. เพื่อนำความรู้ ประสบการณ์ที่ได้จากฐานการเรียนรู้การเพาะเห็ดไปประยุกต์ใช้ในชีวิตจริงได้

กิจกรรมการเรียนรู้

  1. ศึกษาความรู้ของฐานการเพาะเห็ดนางฟ้าจากป้ายนิเทศจากฐานการเรียนรู้
  2. ศึกษาเรียนรู้จากแหล่งเรียนรู้โรงเรือนการเพาะเห็ดและวิทยากรประจำฐานอธิบายเพิ่มเติม
  3. พูดคุย แลกเปลี่ยนเรียนรู้ กับวิทยากรประจำฐาน
  4. ร่วมกันถอดบทเรียนความสอดคล้องของหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง หลักการทรงงานของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 9และสอดคล้องกับฐานการเรียนรู้การเพาะเห็ด
  5. ร่วมกันสรุปสาระความรู้ที่ได้รับจากการเรียนรู้ฐานการเพาะเห็ด
  6. นำความรู้และประสบการณ์ที่ได้ไปประยุกต์ใช้ และขยายผลต่อไป

สื่อและอุปกรณ์การเรียนรู้

  1. ใบงานถอดบทเรียนตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง
  2. ป้ายนิเทศความรู้การเพาะเห็ดนางฟ้า
  3. แหล่งเรียนรู้โรงเรือนการเพาะเห็ด

ความรู้ที่ได้รับจากฐานการเรียนรู้   

  1. ศาสตร์พระราชา หลักการทรงงาน - ทำตามลำดับชั้น
  • ภูมิสังคม - ประหยัดเรียบง่าย - ใช้ธรรมชาติช่วยธรรมชาติ – การพึ่งตนเอง  - พออยู่พอกิน
  1. ศาสตร์ภูมิปัญญาท้องถิ่น -ภูมิปัญญาด้านการแปรรูปผลผลิต เช่นแหนมเห็ด เห็ดสวรรค์ เป็นต้น
  2. ศาสตร์สากล -การวางแผนและการบริหารจัดการพื้นที่ของตนให้ใช้ประโยชน์อย่างคุ้มค่า           -ระบบสหกรณ์    การตลาด บัญชีครัวเรือน  - การเพิ่มคุณค่าผลผลิตและการแปรรูปผลิตภัณฑ์

การนำไปประยุกต์ใช้

            นำไปประยุกต์ใช้ในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้กลุ่มสาระการงานอาชีพ  กิจกรรมชุมนุม และการจัดการภูมิทัศน์ในโรงเรียนให้เป็นแหล่งเรียนรู้อย่างเหมาะสม

การประเมินผลการเรียนรู้และข้อเสนอแนะเพิ่มเติม

            สังเกตพฤติกรรมขณะทำกิจกรรมของฐานการเรียนรู้ เช่นสังเกตจากการสนทนา ซักถาม จดบันทึก  การนำเสนอผลงาน  การถอดบทเรียน

                   - ด้านความรู้  :  การตรวจสอบความถูกต้องจากการทำชิ้นงาน และใบงานที่กำหนด                         -                 -  ด้านทักษะ  :   การสังเกตการทำงานร่วมกันของนักเรียน  และความสำเร็จของงาน                                           -                 - ด้านเจตคติ   :  การสังเกต และสอบถามความพึงพอใจของนักเรียนในการเข้าร่วมกิจกรรม

 

ความสอดคล้องกับหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง (2:3:4 )

2 เงื่อนไข

ความรู้

คุณธรรม

มีความรู้เกี่ยวกับการเพาะเห็ดนางฟ้า เช่นการเลือกเชื้อเห็ด การใช้วัสดุเพาะเห็ด วงจรชีวิตของเห็ด การเจริญเติบโต การเก็บผลผลิต การแปรรูปผลผลิต

นักเรียนต้องมีความรับผิดชอบ มีความขยันอดทน มีความเพียร ตรงต่อเวลา เคารพกฎกติกา ความสามัคคี ความเอื้ออาทร ความซื่อสัตย์ในการเพาะเห็ดนางฟ้า

3 หลักการ

พอประมาณ

มีเหตุผล

มีภูมิคุมกันในตัวที่ดี

จำนวนก้อนเห็ดนางฟ้าที่เหมาะสมกับขนาดของโรงเรือน อุณหภูมิภายในโรงเรือนมีความเหมาะสมกับชนิดของเห็ดที่เพาะ

เพื่อให้นักเรียนมีความรู้ความเข้าใจและมีทักษะในการเพาะเห็ดนางฟ้าและปลูกฝังอุปนิสัยพอเพียงให้กับนักเรียน รวมทั้งสามารถนำความรู้และประสบการณ์ที่ได้จากกิจกรรมการเรียนรู้การเพาะเห็ดไปประยุกต์ใช้ในชีวิตจริงได้

มีการวางแผนการทำงานในการเพาะเห็ดอย่างเป็นขั้นตอน มีการจัดเตรียมวัสดุอุปกรณ์และเครื่องมือที่จำเป็นให้พร้อมกับการใช้งาน เฝ้าระวังรักษาอุณหภูมิและความชื้นภายในโรงเรือนทั้งกลางวันและกลางคืน

       

 

นำไปสู่เป้าหมายสมดุลและพร้อมรับการเปลี่ยนแปลงใน 4 มิติ

ด้านวัตถุ

ด้านสังคม

ด้านสิ่งแวดล้อม

ด้านวัฒนธรรม

นักเรียนมีความรู้และทักษะในการเพาะเห็ด สามารถเพาะเห็ดใช้บริโภคในครัวเรือนและโครงการอาหารกลางวันรวมทั้งจำหน่ายเพื่อเป็นรายได้ระหว่างเรียน

รู้จักพึ่งพากัน/ช่วยเหลือและแบ่งปันซึ่งกันและกันทำให้เกิดความเป็นหมู่คณะและมีการสร้างเครือข่ายการเรียนรู้ทางอาชีพ

ช่วยอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมโดยการนำก้อนเห็ดที่หมดเชื้อแล้วมาทำเป็นปุ๋ยใส่ต้นไม้

เห็นคุณค่าของการนำปราชญ์ชาวบ้านและภูมิปัญญาท้องถิ่นมาใช้ในการเพาะเห็ดและการแปรรูปผลิดภัณฑ์เห็ด