กิจกรรมการเรียนรู้ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง
ศูนย์การเรียนรู้ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ด้านการศึกษา
โรงเรียนบ้านโพนเมืองมะทัน อำเภอม่วงสามสิบ จังหวัดอุบลราชธานี
ฐานพัฒนาทักษะวิชาการ ฐานการเรียนรู้รักการอ่านผ่านเทคโนโลยีมีความพอเพียง
ครูแกนนำ 1. นางสมคิด พวงธนะสาร 3. นางนันทนา เตชาวิวัฒนบูลย์
2. นางพิสมัย ยอดแก้ว 4. นางสายสมร เก๋งแก้ว 5. นายณัฐพล ศรีสมุทร
นักเรียนแกนนำ 1. นางสาววันวิสา สกุลจาบ
2. เด็กหญิงนันทิตา แก้วสุพรรณ์
3. เด็กหญิงชลธิชา พร้าวหอม
สาระสำคัญ
ห้องสมุดโรงเรียน เป็นแหล่งเรียนรู้ภายในโรงเรียนที่มีความสำคัญในการจัดกิจกรรมที่ส่งเสริมให้ผู้เรียนได้รู้จักศึกษาหาความรู้ด้วยตนเองโดยใช้เทคโนโลยีค้นหาความรู้ที่ตนสนใจได้อย่างหลากหลายและต่อเนื่องตลอดชีวิต ซึ่งจะเป็นการเรียนรู้ด้วยตนเองอย่างมีความสุขจนเกิดเป็นนิสัยรักการอ่านที่มั่นคงและยั่งยืนตลอดไป
วัตถุประสงค์
1. เพื่อส่งเสริมให้ครู นักเรียน มีแหล่งศึกษาค้นคว้าหาความรู้ด้วยตนเอง อย่างสร้างสรรค์
2. เพื่อส่งเสริมการสร้างทักษะด้านการพัฒนาตนเองด้วยการอ่าน การสื่อสารผ่านเทคโนโลยี
3. เพื่อเสริมสร้างนิสัยรักการอ่าน โดยใช้แหล่งเรียนรู้และเทคโนโลยีอย่างสร้างสรรค์ ในการพัฒนาความรู้ตลอดชีวิต
กิจกรรมการเรียนรู้
1. วิทยากรประจำฐานชี้แจง แนะนำการใช้ฐานการเรียนรู้
2. วิทยากรประจำฐานให้ความรู้เกี่ยวกับการใช้ห้องสมุดในการศึกษาค้นคว้าหาความรู้ รวมทั้งแนะนำกิจกรรมต่าง ๆ ของห้องสมุด
3. ผู้เรียนศึกษาความรู้ ค้นคว้าเรื่องที่สนใจด้วยตนเอง
4. ผู้เรียนบันทึกสาระความรู้ที่ได้ลงในสมุดบันทึกรักการอ่าน
5. ซักถามและแลกเปลี่ยนเรียนรู้กับวิทยากรประจำฐาน
6. ร่วมกันถอดบทเรียนความสอดคล้องของหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงกับฐานการเรียนรู้ห้องสมุด
7. นำความรู้และประสบการณ์ที่ได้ไปประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวัน
สื่อและอุปกรณ์การเรียนรู้
1. คอมพิวเตอร์, อุปกรณ์เชื่อมต่ออินเตอร์เน็ต
2. เครื่องขยายเสียง , อุปกรณ์ประกอบในการออกเสียงตามสาย
3. หนังสืออ่านประกอบเพิ่มเติมที่หลากหลาย
4. กระดาษ , อุปกรณ์จัดบอร์ด
5. โทรศัพท์มือถือของนักเรียน , โน๊ตบุ๊ค
ความรู้ที่ได้รับจากฐานการเรียนรู้
1. ความรู้ในเนื้อหา บทเรียนในกิจกรรมการเรียนการสอน
2. ความรู้ตามความสนใจ ที่เป็นประโยชน์ต่อตนเองและสังคม
3. ความรู้จากข่าวสาร จากการสืบค้นในโครงข่ายอินเตอร์เน็ต
4. ความรู้จากหนังสือ ตำรา เอกสารสิ่งพิมพ์ต่าง ๆ
5. ความรู้จากการใช้เทคโนโลยี
การนำไปประยุกต์ใช้
- นำองค์ความรู้ จากการสืบค้น สร้างองค์ความรู้จากการรวบรวม เรียบเรียง จัดพิมพ์ เป็นเอกสาร ไปเผยแพร่ให้กับชุมชน
- นำทักษะและการฝึกฝน ไปสู่การเป็น พิธีกร นักประชาสัมพันธ์ การจัดนิทรรศการ จิตอาสาพัฒนาสังคมในด้านต่าง ๆ
การประเมินผลการเรียนรู้และข้อเสนอแนะเพิ่มเติม
- อุปกรณ์ เครื่องมือ เทคโนโลยี มียังไม่เพียงพอ ไม่สามารถจัดหาได้ครบทุกคน การใช้ต้องปรับหมุนเวียน ตามความจำเป็น เร่งด่วน
- สื่อ สิ่งพิมพ์ ที่ติดบอร์ด มีอายุการใช้งาน บางส่วนอยู่นอกห้อง แสงแดด ความชื้นจากน้ำฝน แรงจากลมพัด ทำให้เสื่อมสภาพเร็วต้องใช้วัสดุ เช่น พลาสติกคลุมป้องกัน หรือต้องสำรองวัสดุไว้ แก้ไขอยู่เสมอ
ความสอดคล้องกับหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง (2:3:4)
2 เงื่อนไข |
|||||
ความรู้ |
คุณธรรม |
||||
- ความสะดวกในการแสวงหาความรู้ - รับรู้ข่าวสาร - ถ่ายทอดความรู้ให้ผู้อื่นได้ |
- ความมีวินัย - ความขยันหมั่นเพียร - ความรับผิดชอบ |
||||
3 หลักการ |
|||||
พอประมาณ |
มีเหตุผล |
มีภูมิคุ้มกันในตัวที่ดี |
|||
- ใช้เทคโนโลยี,อุปกรณ์ อย่างรู้คุณค่า - จัดกิจกรรมได้หลากหลาย - ครู , นักเรียน ร่วมกันจัดกิจกรรมจากสื่อที่มีอยู่ |
- ใช้ทรัพยากรที่มีให้คุ้มค่า - ฝึกฝนเรียนรู้จากเทคโนโลยี - ใช้เทคโนโลยีผลิตสื่อ |
- สามารถใช้เทคโนโลยีเสริม, - ใช้เอกสารเพิ่มเติม ,หนังสือพิมพ์, วารสาร, หนังสืออื่น ๆ - อบรมครู ,นักเรียนให้สามารถทำหน้าที่แทนกันได้ |
|||
นำไปสู่เป้าหมาย สมดุลและพร้อมรับการเปลี่ยนแปลงใน 4 มิติ |
|||||
ด้านวัตถุ |
ด้านสังคม |
ด้านสิ่งแวดล้อม |
ด้านวัฒนธรรม |
||
- มีสื่อ/หนังสือ เพื่อการเรียนรู้ - ประหยัดค่าใช้จ่าย - ใช้ทรัพยากรที่มีอยู่อย่างคุ้มค่า |
- รับรู้ข่าวสาร -รู้กฎเกณฑ์ทางสังคม -มีส่วนร่วมจิตอาสา - รักในสถานบันของตนเอง |
- พัฒนาแหล่งเรียนรู้ |
- มีนิสัยรักการอ่าน - ใฝ่รู้ใฝ่เรียน - ภูมิใจในสถานบันของตนเอง - มีความสามัคคี |
||