กิจกรรมการเรียนรู้ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพีย
ศูนย์การเรียนรู้ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ด้านการศึกษา
โรงเรียนบ้านโพนเมืองมะทัน อำเภอม่วงสามสิบ  จังหวัดอุบลราชธานี
ฐานพัฒนาทักษะอาชีพ  ฐานการเรียนรู้ต้นอ่อนทานตะวันปันสุข

ครูแกนนำ        1..นางสาว สุรัตน์ติกาญน์  อนุสนธ์

                   2...นางไพฑูรย์  ประหยัด

                   3. นายอัฐศราวุธ นามแสน

นักเรียนแกนนำ  1.เด็กหญิง ปพิชญา  บริสุทธิ์

                   2..เด็กชาย ณัฐพล ประทาน

                   3.เด็กหญิง ศศิธร ประวิง

                   4..เด็กหญิง ทอฝัน สุมทอง

สาระสำคัญ
          ฐานการเรียนรู้พัฒนาทักษะอาชีพ ฐานต้นอ่อนทานตะวันปันสุข ได้จัดกิจกรรมที่มุ่งพัฒนาทักษะด้านอาชีพให้กับนักเรียน นักเรียนจะได้เรียนรู้เกี่ยวกับประโยชน์ของต้นอ่อนทานตะวัน กระบวนการเพาะ กระบวนการเจริญเติบโตของต้นอ่อนทานตะวัน ซึ่งต้นอ่อนทานตะวันเป็นผักปลอดสารพิษ มีประโยชน์ต่อร่างกาย เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม สามารถนำมาประกอบอาหารได้หลากหลาย และใช้เวลาในการเพาะปลูกระยะสั้น สามารถนำมาจัดจำหน่ายเพื่อสร้างเป็นรายได้ ตลอดจนนำมาประกอบเป็นอาชีพได้ จากกิจกรรมของฐานต้นอ่อนทานตะวัน จะปลูกฝังให้นักเรียนเป็นผู้ที่มีความรับผิดชอบ อดทน เพียรพยายาม ซื่อสัตย์ ใช้เวลาว่างให้เกิดประโยชน์ อีกทั้งได้น้อมนำหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงมาประยุกต์ใช้ในการดำเนินการกิจกรรมของฐาน เป็นการปลูกฝังอุปนิสัยพอเพียงให้กับนักเรียนให้สามารถนำมาใช้ในชีวิตประจำวันได้จริง

วัตถุประสงค์

1...เพื่อให้นักเรียนมีความรู้เรื่องประโยชน์ของต้นอ่อนทานตะวัน

2. ..เพื่อให้นักเรียนได้เรียนรู้กระบวนการเพาะและการเจริญเติบโตของต้นอ่อนทานตะวัน

3...เพื่อให้นักเรียนตระหนักถึงโทษของการใช้สารเคมีในการปลูกพืช และการรักษาสิ่งแวดล้อม

4.....เพื่อปลูกฝังอุปนิสัยพอเพียง คุณธรรม ความรับผิดชอบ และการใช้เวลาว่างให้เกิดประโยชน์

5.. เพื่อให้นักเรียนได้ศึกษาและเรียนรู้จากแหล่งการเรียนรู้โดยการลงมือปฏิบัติจริง

6…เพื่อให้นักเรียนได้นำความรู้และประสบการณ์ ที่ได้จากฐานต้นอ่อนทานตะวันปันสุข ไปประยุกต์ใช้ในชีวิตจริง

กิจกรรมการเรียนรู้
1.ครูให้ความรู้เกี่ยวกับต้นอ่อนทานตะวัน

          - ประโยชน์ / คุณค่าทางโภชนาการ

          - กระบวนการเพาะต้นอ่อนทานตะวัน

          - การเจริญเติบโตของต้นอ่อนทานตะวัน

          - โทษของการใช้สารเคมีในการปลูกพืช

2. ..ครูให้ความรู้เกี่ยวกับการใช้และวิธีการดูแล บำรุงรักษาอุปกรณ์ต่างๆ ภายในโรงเรือน

3.....ครูและนักเรียนร่วมกันเพาะต้นอ่อนทานตะวัน และแบ่งเวรรับผิดชอบในแต่ละวัน

4....ครูและนักเรียนร่วมกับเก็บผลผลิตต้นอ่อนทานตะวัน ทำความสะอาด บรรจุ นำจำหน่าย และจัดทำบัญชีรายรับ-รายจ่าย

5...ครูและนักเรียนร่วมกันถอดบทเรียน ฐานต้นอ่อนทานตะวันปันสุข และร่วมกันสรุปความรู้ที่ได้จากการเรียนรู้

สื่อและอุปกรณ์การเรียนรู้
1ใบความรู้

          - ประโยชน์ของต้นอ่อนทานตะวัน

          - โทษของการใช้สารเคมี

2. เอกสารประกอบการใช้อุปกรณ์ต่างๆในโรงเรือน

3..อุปกรณ์ในการเพาะต้นอ่อนทานตะวัน

4..ป้ายความรู้ภายในโรงเรือน

5..ใบงาน ถอดบทเรียน

ความรู้ที่ได้รับจากฐานการเรียนรู้

1..ได้รู้ประโยชน์ของต้นอ่อนทานตะวัน

2. ได้รู้วิธีเพาะต้นอ่อนทานตะวัน

3..ได้รู้วิธีใช้ วิธีบำรุงรักษาอุปกรณ์ต่างๆ ภายในโรงเรือน

4...เพื่อปลูกฝังอุปนิสัยพอเพียง คุณธรรม ความรับผิดชอบ และการใช้เวลาว่างให้เกิดประโยชน์

การนำไปประยุกต์ใช้

..........นักเรียนนำความรู้ และประสบการณ์ที่ได้จากฐานการเรียนรู้ต้นอ่อนทานตะวันปันสุข ไปประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวันได้ เช่น การนำความรู้ที่ได้ไปเพาะต้นอ่อนทานตะวันเพื่อจำหน่าย เป็นการสร้างรายได้และสามารถนำมาประกอบเป็นอาชีพในอนาคตได้ การนำความรู้เรื่องการปลูกผักปลอดสารพิษไปใช้ในการปลูกผักชนิดอื่นๆ การนำความรู้เรื่องการทำบัญชีรายรับ-รายจ่ายไปประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวัน เป็นต้น

การประเมินผลการเรียนรู้และข้อเสนอแนะเพิ่มเติม

  • แบบสังเกตพฤติกรรม
  • ใบงาน ถอดบทเรียน

ความสอดคล้องกับหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง (2:3:4)

2 เงื่อนไข

ความรู้

คุณธรรม

-รู้วิธีการเพาะต้นอ่อนทานตะวัน

-รู้ประโยชน์ของต้นอ่อนทานตะวัน

-รู้แหล่งจำหน่าย ราคาที่ต้องขายตามท้องตลาด

-รู้วิธีใช้ วิธีดูแล บำรุงรักษาอุปกรณ์ในโรงเรือน

-รู้สถานที่ รู้งบประมาณ

-รู้จักทำบัญชีรายรับ-รายจ่าย

-มีความรับผิดชอบ

-ขยัน ความเพียรพยายาม

-ซื่อสัตย์ แบ่งปัน สามัคคี

3 หลักการ

พอประมาณ

มีเหตุผล

มีภูมิคุ้มกันในตัวที่ดี

- ระยะเวลาในการเพาะ และงบประมาณเหมาะสมพอดีกับการทำกิจกรรม

-สอดคล้องกับความต้องการของท้องตลาด

-เป็นการฝึกความรับผิดชอบ

-ฝึกทักษะการทำงานเป็นทีม

-เพื่อหารายได้ สร้างเป็นอาชีพ

-เป็นแหล่งการเรียนรู้

-ปลูกฝังอุปนิสัยพอเพียงให้กับนักเรียน รวมทั้งสามารถนำความรู้ ประสบการณ์ที่ได้ไปประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวันได้

-โรงเรือนมีความปลอดภัย

-กระบวนการเพาะปลอดภัย มีการวางแผนอย่างเป็นขั้นตอน

-เป็นผักปลอดสารพิษ

-มีความรู้ในการใช้ ดูแล เก็บรักษาอุปกรณ์เป็นอย่างดี

นำไปสู่เป้าหมาย สมดุลและพร้อมรับการเปลี่ยนแปลงใน 4 มิติ

ด้านวัตถุ

ด้านสังคม

ด้านสิ่งแวดล้อม

ด้านวัฒนธรรม

-สื่อ

-ใช้วัสดุอุปกรณ์ต่างๆอย่างคุ้มค่า

-ประหยัด

-เพิ่มรายได้

-ได้ฐานการเรียนรู้

-เกิดปฏิสัมพันธ์ระหว่างครู : นักเรียน : ผู้ปกครอง : ชุมชน

- รู้จักพึ่งพาตนเอง

-เกิดความสามัคคี

-เกิดอาชีพที่สุจริต

-ได้ผักปลอดสารพิษ

-ช่วยอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม

-รักษาความสะอาด ซ่อมแซมบำรุงโรงเรือนและอุปกรณ์อยู่เสมอ

-สืบสานปราชญ์ชาวบ้านเรื่องปลูกผักปลอดสารพิษเพื่อบริโภค